ระบบพลังไฟฟ้าของรถยก มีข้อกำหนดความปลอดภัยอย่างไรบ้าง
ระบบไฟฟ้ามีข้อกำหนดความปลอดภัยรวมตั้งแต่ แบตเตอรี่ อุปกรณ์ไฟฟ้า และระบบป้องกันไฟรั่ว ไฟเกิน ได้แก่
1) ตู้บรรจุแบตเตอรี่ เป็นแหล่งพลังงานของรถยกและถือว่าเป็นจุดสำคัญที่ต้องมีการป้องกัน ฝาตู้ที่เปิดต้องมีระดับห่างจากตัวแบตเตอรี่ไม่ต่ำกว่า 30 มิลลิเมตร เพื่อให้ไอระเหยของน้ำกรดที่ร้อนจัดสามารถระบายออกไปได้ และสามารถรับแรงกระแทกได้ไม่ต่ำกว่า 980 Nforce
2) Connector เป็นอุปกรณ์สำคัญอีกตัวหนึ่งที่อาจใช้ในการตัดไฟจากแหล่งพลังงานเวลาฉุกเฉินได้ ต้องสามารถทนแรงไฟเป็น 4 เท่าของกำลังไฟปกติ ชนิดของ connector มีขนาดแยกตามสีต่างๆ ตามมาตรฐานสากล
3)อุปกรณ์ต่างๆ ต้องมีแนวนป้องกันไฟฟ้าช๊อต ต้องแยกห้องไฟฟ้าต่างหาก มีการป้องกันด้วยระบบลงดิน(earthing) มีวงจรพิเศษสำหรับระบายไฟจากการใช้ไฟเกิน (overload) และมีฟิวส์ (fuse) ขนาดเหมาะสมป้องกันไฟลัดวงจร
4) ต้องมีระบบสวิตช์ฉุกเฉิน (emergency disconnection) อยู่ใกล้มือคนขับที่พร้อมจะตัดไฟจากวงจรได้อย่างรวดเร็ว
5) ต้องมีระบบระบายความร้อนที่เกิดจากการทำงานของมอเตอร์
6) รถยกที่นำไปใช้งานในโรงงานหรือสายการผลิต ต้องคำนึงถึงการเข้ากันได้ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า EMC (electromagnetic compatibility) หมายถึงการไม่ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปรบกวนซึ่งกันและกันระหว่างรถยกไฟฟ้ากับเครื่องจักรกลอื่น ที่ควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
ระบบควบคุมและเบรก (control & brake system)
สิ่งที่สำคัญในข้อกำหนดด้านนี้จะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างต่างๆ และการควบคุมการขับเคลื่อนของตัวรถ ได้แก่
1.การกำหนดรัศมีวงเลี้ยวและขนาดกว้าง ยาว สูงของตัวรถชัดเจนและเหมาะสม สีรถต้องเป็นสีที่ตัดกันกับอุปกรณ์อื่นๆ ในสิ่งแวดล้อมที่ทำงาน เพื่อให้เห็นได้ชัดว่ารถยกกำลังทำงานหรือวิ่งไปมา ดังนั้น จึงได้พบเห็นเสมอว่ารถยกทั่วไปมีสีฉูดฉาดและสามารถมองเห็นได้แต่ไกล เช่น สีส้ม สีเหลือง สีแดง เป็นต้น
2.การควบคุมความเร็วในการขับเคลื่อน จะต้องมีความเร็วที่กำหนดเหมาะสม ไม่เร็วเกินไป มีความสามารถในการไต่ทางลาดชันและข้ามสิ่งกีดขวางได้ระดับหนึ่ง อุปกรณ์ที่บังคับเดินหน้าถอยหลังจะต้องสอดคล้องกับทิศทางเช่นเดียวกัน อุปกรณ์ที่บังคับเลี้ยงซ้ายขวาต้องมีลักษณะการทำงานสอดคล้องกับทิศทางการเลี้ยว
3.พวงมาลักที่ใช้จะต้องคืนตัวได้และสามารถบังคับด้วยมือเดียวได้ ดังนั้น พวงมาลัยรถยกจึงมีปุ่มเพิ่มขึ้น เพื่อให้บังคับทิศทางรถด้วยมือเพียงข้างเดียวได้สะดวก เหตุที่ต้องออกแบบเช่นนี้ เพราะรถยกต้องทำงานด้วยมือทั้งสองข้างพร้อมกันในขณะขับเคลื่อน เช่น ต้องมีมือเหลือที่จะยกงาขึ้นลง หรือโยกหน้าหลัง เป็นต้น
4.ระบบเบรกเป็นเงื่อนไขที่สำคัญอีกประการหนึ่ง รถยกจะมีเบรกหลายแบบ ซึ่งนอกจากการเบรกในเวลาทำงานที่เรียกว่า service brake แล้ว ยังมีระบเบรกในขณะที่รถจอดอยู่กับที่เรียกกันว่าเบรกอัตโนมัติ หรือ parking brake ช่วงป้องกันอันตรายจากการเคลื่อนตัวหรือลื่นไถลโดยไม่มีคนขับ
มาตราฐานที่ดีได้กำหนดน้ำหนักของเบรกที่จำเป็นของรถยกแต่ละรุ่น เพราะน้ำหนักตัวรถและความเร็วรถที่มีไม่เท่ากัน ทำให้ต้องมีน้ำหนักของเบรกเพียงพอกับรถชนิดนั้นๆ
5.รถยกประเภทเดินตามที่มีระยะหัว tiller ตั้งตรงกับนอนราบ ต้องมีระยะเบรกในตัวและยังต้องมีระบบเบรกชนิดพิเศษที่หัว tiller โดยคำนึงถึงรถเวลาถอยหลังมาหาคนขับ ถ้าบังเอิญคนขับถอยเข้าสู่มุมอับหรือติดกำแพง ระบบเบรกที่หัว tiller จะกระแทกกับคนขับ แล้วทำให้รถยกวิ่งกลับทิศทางได้ทันที เรียกว่า “reversing moving”
6.การวางตำแหน่งคานบังคับ ต้องเรียงตามที่กำหนดไว้ในมาตราฐาน กล่าวคือ ให้เรียงตามลำดับจาก A B C เพื่อช่วยให้คนขับรถยกสามารถบังคับรถได้ทุกคันเหมือนกันหมด และไม่เกิดความผิดพลาดในการบังคับ
A = คานสำหรับยกงาขึ้นลง
B = คานสำหรับการโยกเสาเอนหน้าหลัง
C = คานสำหรับอุปกรณ์เสริม
ให้บริการเกี่ยวกับรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า น้ำมัน และแก๊ส ในด้านการขาย เช่า ซ่อม อะไหล่ และบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร โดยทางบริษัทขอแจ้งรายละเอียดในเรื่องสินค้าและบริการดังนี้ -บริการซ่อมบำรุงรถโฟล์คลิฟท์(forklift repair)ทั้งระบบไฟฟ้า น้ำมัน แก๊ส -บริการตรวจเช็คและบำรุงรักษารถโฟล์คลิฟท์(P.M.forklift)รายเดือนและรายปีฯลฯ Email:pcnforklift@hotmail.com, Tel: 086-5182510, ID:LINE PCNFORKLIFT06 หรือ @pcnforklift ,www.pcnforklift.com
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น