วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

ซ่อมปั๊มไฮดรอลิค ปทุมธานี





ระบบไฮดรอลิคได้รับแรงดันจากปั๊มไฮดรอลิค  เราแบ่งปั๊มออกเป็น 2  ประเภทดังนี้
  • ปั๊มแบบเกียร์
ปั๊มแบบเกียร์
  • ปั๊มแบบลูกสูบที่ปรับความจุได้ ( variable  - displacement pumps )
ปั๊มแบบลูกสูบที่ปรับความจุได้
    ปั๊มแบบเกียร์ มีลักษณะเป็นแบบเฟืองหมุนขบกัน  และขับดันน้ำมันไฮดรอลิคให้เกิดความดันที่สูงขึ้น  ข้อเสียก็คือ  แรงดันขึ้นอยู่กับความเร็วรอบของเครื่องยนต์  และวิธีเดียวที่จะได้แรงดันสูงสุด  คือ เร่งเครื่องยนต์ให้กำลังที่ได้มากสุด
ปั๊มแบบเกียร์
    ปั๊มแบบลูกสูบที่ปรับความจุได้  ประกอบขึ้นจากลูกสูบหลายอัน บรรจุอยู่ในทรงกระบอกขนาดใหญ่  ลักษณะคล้ายกับลูกโม่ของปืนพก   เครื่องยนต์ต่อกับทรงกระบอก และหมุนทรงกระบอก ทำให้กระบอกสูบยืดและหด  โดยปลายของกระบอกสูบทุกอันต่อกับแผ่นจาน (Swash plate)  เมื่อทรงกระบอกหมุน  แผ่นจานทำมุมเอียงจะหมุนตาม  และผลักให้กระบอกสูบชักเข้าและออก  ในรูปภาพเมื่อแผ่นจานดึงกระบอกสูบออก  มันจะเกิดสูญญากาศดูดน้ำมันออกจากถัง   และเมื่อกระบอกสูบถูกอัดเข้า  น้ำมันไฮดรอลิค  จะถูกอัดเข้าไปในระบบ
ปั๊มแบบลูกสูบที่ปรับความจุได้
       ปั๊มแบบลูกสูบที่ปรับความจุได้  สามารถปรับจำนวนน้ำมันที่อยู่ในปั๊มได้  โดยการเปลี่ยนมุมของจาน   ถ้าแผ่นจานวางอยู่ในแนวเดียวหรือขนานกับทรงกระบอก (มุมเป็นศูนย์)  จะไม่มีการปั๊มน้ำมันออก   และถ้าเอียงทำมุมน้อย  ความแตกต่างของน้ำมันในลูกสูบทางซ้ายกับขวามีน้อย  ก็จะปั๊มน้ำมันออกไปได้น้อย  ถ้าเอียงมาก สามารถปั๊มน้ำมันออกไปได้มาก
      มุมของแผ่นจานจึงใช้ควบคุมปริมาณของน้ำมันในระบบไฮดรอลิคได้  เมื่อเซนเซอร์วัดความดันที่อยู่ในกระบอกไฮดรอลิค  และต้องการปรับอัตราการไหลของน้ำมัน   มันจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปที่อุปกรณ์ควบคุมเพื่อปรับมุมของแผ่นจาน  ข้อดีของปั๊มมีดังนี้
  1. การเปลี่ยนมุมของจานให้ประสิทธิภาพดีกว่า    เมื่อระบบไฮดรอลิคต้องการน้ำมันน้อยลง  ปั๊มพวกนี้สามารถปรับเปลี่ยน และตอบสนองได้ทัน   ถ้าไม่มีการทำงาน ปั๊มสามารถหยุดการจ่ายน้ำมันได้ทันที
  2. เครื่องยนต์มีความเร็วรอบไม่คงที่   ถ้าความเร็วรอบมาก กำลังจะได้มาก  ถ้าความเร็วน้อย กำลังจะน้อย   การปรับมุมสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบของเครื่องยนต์ได้ดีกว่า
คลิกดูวีดีโอการทำงานของปั๊มไฮดรอลิค
     กำลังของแบ็กโฮได้จาก  อัตราการไหล คูณด้วยความดันของน้ำมันไฮดรอลิค   แรงดันมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับภาระที่กระบอกไฮดรอลิคต้องรับ   ถ้ายกของหนักต้องใช้แรงดันมากกว่า ยกของเบาเป็นต้น
ปั๊มไฮดรอลิค
      ถ้าปั๊มไม่สามารถเปลี่ยนความจุได้   อัตราการไหลของน้ำมันจะคงที่  ทุกๆความเร็วรอบของเครื่องยนต์   และเนื่องจาก  อัตราการไหลคูณกับความดันสูงสุดของน้ำมัน ไม่สามารถเกินกำลังของเครื่องยนต์ได้  ระบบไฮดรอลิคที่ใช้ปั๊มประเภทนี้ จึงต้องใส่วาวล์ป้องกันความดันสูงสุดไว้    เมื่อแรงดันเกินกว่าค่าหนึ่ง  วาวล์จะเปิดและปล่อยให้น้ำมันไหลย้อนกลับเข้าถังเก็บ  เป็นการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
      ปั๊มที่สามารถเปลี่ยนค่าความจุได้   จะไม่มีปัญหานี้  ระบบมีตัวเซนเซอร์ตรวจวัดความดันของกระบอกไฮดรอลิค  ถ้าระบบไม่ต้องการความดันมาก  ปั๊มจะเพิ่มอัตราการไหล โดยปรับมุมของจานให้เอียงมากขึ้น  กระบอกสูบไฮดรอลิคเลื่อนได้เร็ว  แต่มีแรงกระทำน้อย   แต่ถ้าระบบต้องการแรงดันสูง  ปั๊มจะลดอัตราการไหล  คูณกับความดันสูงสุดไม่เกินจากกำลังของเครื่องยนต์

ที่มา: ฟิสิกส์ราชมงคล


วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

ข้อเสนอแนะในการใช้แบตเตอรี่ของรถโฟร์คลิฟท์


ข้อเสนอแนะในการใช้แบตเตอรี่ของรถโฟร์คลิฟท์

สิ่งที่ควรปฏิบัติ
1.  ควรตรวจเช็คระดับของน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับปกติอยู่เสมอ
2.  ควรใช้น้ำกลั่นบริสุทธิ์เท่านั้นเติมในแบตเตอรี่
3.  ควรบำรุงรักษาแบตเตอรี่ให้สะอาดอยู่เสมอ  เพื่อป้องกันการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า
4.  ควรสวมถุงมือหรือหน้ากาก  เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน
5.  ควรเปิดจุกปิดฝาในขณะที่ชาร์จไฟ  เพื่อการถ่ายเทความร้อนได้ดียิ่งขึ้น
6.  ควรชาร์จไฟให้เต็มทุกครั้ง  ก่อนนำไปใช้งาน (ถ.พ. 1,270-1,280)
7.  ควรปิดฝาแบตเตอรี่  เพื่อป้องกันโลหะตกลงในแบตเตอรี่

สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ
1.  ไม่ควรใช้แบตเตอรี่เกินอันตราที่กำหนด  (OVER  DISCHARGE)
      ถ.พ.  ต่ำกว่า  1,150
2.  ไม่ควรชาร์จไฟเกิน (OVER  CHARGE)  ขณะที่ชาร์จไฟเต็ม 
      ถ.พ.1,270-1,280
3.  ไม่ควรเติมน้ำกลั่นน้อยหรือมากเกินไป
4.  ควรระวังเครื่องมือที่เป็นโลหะตกหล่นลงในแบตเตอรี่
5.  ไม่ควรสูบบุหรี่  หรือจุดประกายไฟใดๆใกล้แบตเตอรี่


สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วกว่าปกติ ปทุมธานี




สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วกว่าปกติ
1.  ปล่อยให้น้ำกลั่นแห้ง  ทำให้แผ่นธาตุไหม้  แผ่นกั้นทะลุ
2.  เติมน้ำกลั่นล้น  ทำให้  ถ.พ กรดต่ำ  ใช้งานได้ระยะเวลาน้อยลง
3.  น้ำกลั่นไม่บริสุทธิ์
4.  มีเศษโลหะตกลงในเซลแบตเตอรี่
5.  มีการสั่นสะเทือนของแบตเตอรี่อย่างรุนแรง  ทำให้แผ่นกั้นเกิดความเสียดสี  เป็นสาเหตุให้เกิดการลัดวงจร
6.  ชาร์จไฟเกิน  ทำให้แผ่นธาตุเกิดความร้อนสูง  ส่งผลให้โครงกริดเกิดการคดงอและผง MATERIAL  เกิดการร่วง
7.  แบตเตอรี่ถูกใช้งานเกิดกว่าที่กำหนด  มีผลทำให้ชาร์จไฟเข้ายาก
8.  ถ.พ  ของกรดสูงเกินค่าที่กำหนด (ขณะชาร์จไฟเต็ม ถ.พ 1,270-1,280)
9.  ไม่ควรชาร์จไฟบ่อยครั้ง  เพราะจะทำให้เสีย CYCLE โดยไม่จำเป็น
10.  นำแบตเตอรี่ไปใช้ในขณะที่ชาร์จไฟไม่เต็ม
11.  แบตเตอรี่มีคราบซัลเฟต มีผลทำให้ไฟรั่วลงถังแบตเตอรี่

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

แบ็ตเตอรี่ forklift น้ำกลั่นแห้ง ปทุมธานี





 น้ำกลั่นคือน้ำบริสุทธิที่คุณสามารถซื้อหาได้เพราะเกิดจากกระบวนการระเหยของน้ำและกลั่นตัวออกมา น้ำที่ได้จากการกลั่นจะสะอาด ไม่มีปราศจากสิ่งสกปรกที่สามารถมองเห็นได้ และมีค่า pH ที่เป็นกลางหรือมีค่าความเป็นกรดอ่อนๆ น้ำกลั่นที่คุณซื้อจากเรา จะมีค่าการนำไฟฟ้าต่ำ ซึ่งเป็นลักษณะที่เหมาะสมของน้ำบริสุทธิ์สิ่งสกปรกเกือบทั้งหมดจะถูกกำจัดออกในกระบวนการกลั่น กล่าวคือ ในกระบวนการกลั่นนั้นจะต้มน้ำจนเกิดการระเหยเป็นไอน้ำและการควบแน่นเป็นหยดน้ำ น้ำที่ได้นั้นเราจะเก็บในภาชนะที่สะอาด ปราศจากธาตุต่างๆ ส่วนน้ำ DI (Deionized water ) ยังอาจมีสิ่งสกปรกเจือปนอยู่แต่น้ำกลั่นจะบริสุทธิ์มากเพราะสิ่งสกปรกเกือบทั้งหมดได้ถูกกำจัดออกในกระบวนการกลั่น ซึ่งน้ำกลั่นจะมีกรรมวิธีในการผลิตที่ค่อนข้างช้า เพื่อให้ได้น้ำกลั่นบริสุทธิ์อย่างแท้จริง น้ำกลั่นถูกใช้ในลักษณะงานที่หลากหลาย รวมทั้งงานอุตสาหกรรม, งานห้องปฏิบัติการ ,การทำความสะอาด,การล้าง,การทดสอบ,การแลกเปลี่ยนอิออนในแบตเตอรี่รถยนต์,การตัดด้วยเลเซอร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย หรือท่านสามารถติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้น้ำกลั่นในลักษณะงานของท่าน น้ำกลั่นส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการใช้ในการทดลองที่จำเป็นต้องใช้น้ำบริสุทธิ์และยังใช้ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมที่ต้องการให้มีสิ่งสกปรกหรือสารปนเปื้อนให้น้อยที่สุด น้ำปราศจากไอออน (น้ำ DI) เป็นน้ำที่มีราคาไม่แพงใช้สำหรับงานในห้องปฏิบัติการและงานอุตสาหกรรม น้ำ DI ที่ใช้กันมากคือ ใช้เติมแบตเตอรี่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ องค์ประกอบของธาตุต่างๆที่พบในน้ำ DI อาจทำให้ช่วงอายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ลดลง ดังนั้นนี่คือเหตุผลที่คุณอาจจะต้องการซื้อน้ำกลั่น ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำที่มีราคาสูง มักจะใช้น้ำกลั่น ที่ไม่มีองค์ประกอบธาตุต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อปลาที่เลี้ยง นอกจากนั้นน้ำกลั่นยังใช้แทนน้ำประปาในเตารีดไอน้ำ เพราะน้ำประปาจะทำให้เกิดการสะสมของธาตุต่างๆจนเกิดตะกรันและทำให้ไม่สามารถ พ่นไอน้ำได้ น้ำกลั่นควรเก็บในอุณหภูมิห้องปกติระหว่าง 20 - 30 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสงแดดและความชื้น ควรเก็บไว้ในภาชนะปิดผนึก หลีกเลี่ยงความร้อนและเย็นที่มากเกินไป เมื่อเปิดใช้น้ำกลั่น น้ำกลั่นจะเริ่มรับธาตุและสิ่งเจือปนต่างๆในบรรยากาศ ซึ่งจะมีผลต่อค่าการนำไฟฟ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ ดังนั้นจึงควรเก็บน้ำกลั่นในภาชนะปิดสนิทที่สุดเท่าที่จะทำได้

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

โครงสร้างของตัวรถโฟล์คลิฟท์ ปทุมธานี

โครงสร้างของตัวโฟล์คลิฟท์ และ น้ำหนักบรรทุกที่อาจมีผลกระทบต่อความปลอดภัย มีดังนี้

- มีความเป็นไปได้ที่ท้ายรถจะยกสูงขึ้นทำให้เกิดการเอียงหรือการพลิกคว่ำไปข้างหน้า (Forward Tipover)

- มีความเป็นไปได้ที่รถจะเสียความสมดุลด้านใดด้านหนึ่ง ทำให้ตัวรถพลิกคว่ำด้านข้าง (Side Tipover)

- มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการพลิกไปข้างหน้าหากมีการเบรคอย่างแรงขึ้นอยู่กับ ความเร็วที่ใช้ น้ำหนักที่บรรทุก และระยะการเบรค

- มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดพลิกไปข้างหน้าหากทีการถอยหลังด้วยความเร็วสูง 

1. ความสมดุลของตัวรถโฟล์คลิฟท์ (Counterbalance forklift)

ข้อมูลต่อไปนี้ อ้างอิงจากงานวิจัยของศูนย์ค้นคว้าด้านอุบัติเหตุแห่งมหาวิทยาลัยโมแนช รัฐวิกตอเรีย ออสเตียเรีย แสดงถึงจุดสมดุลของรถโฟล์คลิฟท์ที่ใช้กันทั่วไปในรัฐวิกตอเรีย

- ตัวรถและความสมดุลของตัวรถและงายก เชื่อมต่อโดยตรงกับเพลาหน้า (เพลาขับเคลื่อน) โดยมีความว่องไวสูง

- เสากระโดง (Mast) มีเดือยเชื่อมกับตัวรถบริเวณเพลาหน้าหรือจุดใกล้เคียง

- แกนพวงมาลัยมีเดือยเชื่อมต่อกับตัวรถตรงจุดศูนย์กลาง ดังนั้น ยางบังคับทิศทาง (ยางหน้า) จะยังคงสัมผัสกับพื้นแม่พวงมาลัยจะสั่นสะเทือนเล็กน้อยขณะขับเคลื่อนไปบนพื้นผิวปฏิบัติงานปกติ

- ระบบเบรกสัมพันธ์โดยตรงกับล้อหน้าเท่านั้น

สำหรับตัวรถโฟล์คลิฟท์หนึ่งคันสามารถจะติดตั้งชิ้นส่วนเสริมได้โดยไม่เสียสมดุล ดังต่อไปนี้

- เสากระโดงที่มีความสูงแตกต่างกันในช่วง 150-750 ซม. โดยเสากระโดงสามารถแบ่งเป็นขั้นหรือชั้นได้

- ล้อและยางที่แตกต่างกัน เช่น ยางตัน ยางเติมลมทั้งชนิดมีและไม่มียางใน

- งายกในลักษณะต่างๆ ที่เหมาะสมกับการใช้งานจะมีส่วนเสริมด้านข้างด้วยหรือไม่ก็ได้

- ส่วนประกอบพิเศษชนิดอื่น ๆ 

2. สามเหลี่ยมความมั่นคง (Stability triangle)

เงื่อนไขที่ความสมดุลของตัวโฟล์คลิฟท์จะทำให้เกิดการพลิกไปข้างหน้าหรือด้านข้างมีด้วยกัน 3 ประการ คือ

1. ยางล้อหน้ามันผัสกับพื้นทางวิ่งในลักษณะหมุนหรือพลิกในทิศทางออกจากตัวรถอย่างรวดเร็ว จะทำให้ตัวรถพลิกไปข้างหน้า (forward tipover)

2. ยางล้อหน้าด้านซ้ายพลิกในทิศทางเข้าหาตัวรถอย่างรวดเร็ว หรือยางล้อหลังพลิกในทิศทางออกจากตัวรถอย่างรวดเร็วจะทำให้ตัวรถพลิกค่ำด้านข้าง (side tipover)

3. ยางล้อหน้าด้านขวาพลิกในทิศทางออกจากตัวรถอย่างรวดเร็ว หรือยางล้อหลังพลิกในทิศทางเข้าหาตัวรถอย่างรวดเร็ว จะทำให้ตัวรถพลิกค่ำด้านข้าง (side tipover)




รูปสามเหลี่ยมความมั่นคงของโฟล์คลิฟท์

เนื่องจากยางล้อหลังมีระยะหมุน (ไปทางซ้ายหรือขวา) ที่แคบมาก ดังนั้นการพลิกคว่ำไปด้านข้างของโฟล์คลิฟท์มักจะเกิดการหมุนผิดทิศทางอย่างรวดเร็วของล้อหน้าไม่ว่าจะเป็นล้อด้านซ้ายหรือด้านขวา ในกรณีนี้อาจจะเกิดการพลิกคว่ำไปด้านหน้าตามมาด้วยก็ได้

3. จุดศูนย์ถ่วงของตัวรถ (Center of mass) 

สิ่งที่ทำให้วัตถุต่างๆ ทรงตัวอยู่ได้คือ จุดศูนย์ถ่วง รถโฟล์คลิฟท์ก็เช่นกัน จุดศูนย์ถ่วงของรถโฟล์คลิฟท์ได้แก่ จุดที่ตัวรถตั้งอยู่แล้วเกิดความสมดุล เมื่อรถจอดอยู่เฉยๆ จะไม่มีแรงใด ๆ มา กระทำต่อจุดศูนย์ถ่วงนอกจากแรงดึงดูดของโลก ซึ่งก็ทำให้เกิดความสมดุลตามโครงสร้างความมั่นคงของตัวรถ จะไม่มีการพลิกคว่ำไปข้างหน้าหรือพลิกคว่ำด้านข้าง แต่เมื่อมีการเพิ่มน้ำหนักไปที่งายก จุดศูนย์ถ่วงของตัวรถและสัมภาระที่ความเหมาะสม จะไม่ทำให้เกิดการเสียสมดุลปัญหามักจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเพิ่มน้ำหนักที่งายกมากเกินไปจนทำให้จุดศูนย์ถ่วงขยับเกินจุดที่ตั้งปกติจนทำให้ล้อหลังลอยขึ้นมาจากพื้น

4. แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Dynamic Forces)

เมื่อโฟล์คลิฟท์วิ่งขึ้นลงทางลาดหรือเข้าโค้งด้วยความเร็วระดับหนึ่ง หรือเมื่อมีการเบรดหรือเร่งความเร็วจะมีแรงหนีศูนย์กลางทำให้ตัวรถเอียงไปด้านข้างหรือเกิดการกระดกที่ล้อหน้าหรือล้อหลัง ในสถานการณ์เช่นนี้ หากมีการพลิกหรือหมุนของล้อรถผิดทิศทางดังที่กล่าวไปในหัวข้อสามเหลี่ยมความมั่นคงก็จะเกิดการพลิกคว่ำทั้งในลักษณะการพลิกคว่ำไปข้างหน้าหรือพลิกคว่ำด้านข้างได้

5. การพลิกคว่ำด้านข้าง - การพลิกคว่ำไปข้างหน้า (Tipover sideways vs. tipover forwards)

เมื่อโฟล์คลิฟท์มีการบรรทุกสัมภาระที่งายก จุดศูนย์ถ่วงก็จะเคลื่อนไปข้างหน้าและมีแนวโน้มจะเสียสมดุล ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดแรงยกด้านท้ายรถทำให้พลิกคว่ำไปข้างหน้าได้ทุกขณะเนื่องจากความมั่นคงเหลืออยู่น้อยมาก ในขณะเดี่ยวเมื่อมีการบรรทุกน้ำหนักที่งายกและเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยความเร็วปกติ ล้อทั้งหมดก็จะรับน้ำหนักในลักษณะที่เฉลี่ยเท่ากัน ในแต่ละล้อ (4 หรือ 6 ล้อ แล้วแต่รุ่นของรถ) ทำให้เกิดการสมดุลด้านข้างจึงทำให้โอกาศที่จะเกิดการพลิกคว่ำด้านข้างมีน้อยลง

ขณะมีการบรรทุกที่งายกและเคลื่อนไปข้างหน้า แนวโน้มที่จะเกิดการพลิกคว่ำไปข้างหน้า (เริ่มต้นด้วยการลอยตัวขึ้นมาจากพื้นของล้อหลัง) จะมีสูงมากหากน้ำหนักมีมากเกินไปจนทำให้เสียสมดุล แต่ในทางกลับกันแนวโน้มที่จะเกิดการพลิกคว่ำด้านข้างจะมีน้อยกว่า

การพลิกคว่ำด้านข้างไปยังข้างใดข้างหนึ่งมักเกิดขึ้นขณะโฟล์คลิฟท์วิ่งรถเปล่า (ไม่มีการบรรทุกใดๆ บนโฟล์คลิฟท์) ถึง 75% ของอุบัติเหตุโฟล์คลิฟต์พลิกคว่ำด้านข้างทั้งหมด

ข้อควรจำ เมื่อมีการบรรทุกให้ระวังการพลิกคว่ำไปข้างหน้า แต่เมื่อวิ่งรถเปล่าให้ระวังการพลิกคว่ำไปยังด้านข้างทั้งซ้ายและขวา

6. ความมั่นคงและการเพิ่มน้ำหนักของสัมภาระ (Stability and raised loads)

การเพิ่มน้ำหนักสัมภาระบรรทุกบนงายกจะทำให้ความมั่นคงของโฟล์คลิฟท์ลดลง และโอกาศที่จะเกิดการพลิกคว่ำในทุกทิศทางก็มีสูงขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของส่วนรองรับน้ำหนักโดยเฉพาะล้อและยางว่าสามารถรับแรงกดที่เพิ่มขึ้นทั้งด้านข้างหน้าและหลังได้ดีขนาดไหน ก้าเป็นไปในทางบวกก็ทำให้แนวโน้มการพลิกคว่ำทั้งด้านหน้าและด้านข้างลดลง

7. มาตรฐานรับรองด้านความมั่นคงและความปลอดภัยของโฟล์คลิฟท์(Standard for forklift stability or safety)

ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ยอมรับทั้งมาตรฐานของตัวเอง (AS,AS,/NZS) มาตรฐานญี่ปุ่นที่เป็นผู้ผลิต และมาตรฐานสากล (ISO) ซึ่งแบ่งย่อยลงไปเป็นหลายฉบับตามลักษณะหรือประเภทของตัวรถ เครื่องยนต์ รูปแบบการใช้งาน รวมไปถึงคุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อความปลอดภัยโดยเฉพาะ

8. การทดสอบความมั่นคงของตัวรถโฟล์คลิฟท์ ตามมาตรฐานออสเตียเลียและมาตรฐานสากล 

การทดสอบเพื่อระบุถึงความสามารถสูงสุดของโฟล์คลิฟท์
ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ รวมถึง AS 2359,AS 4972 (Int.) ของออสเตียเลีย หรือมาตรฐานสากล ISO 13863 หรือ ISO 1579

สำหรับรถโฟล์คลิฟท์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจะต้องผ่านการทดสอบความสมดุลใน 4 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

1. การยกกองสัมภาระแนวตรง-ทดสอบโดยใช้โฟล์คลิฟท์จอดอยู่บนแทนทดสอบและพื้นลาด จากนั้นทำการยกกองสัมภาระบนงายกที่เลื่อนสูงขึ้นจนสุดเสากระโดง ทั้งนี้

ท้ายรถจะต้องไม่กระดกจนกว่าจะทำการยกสัมภาระที่มีน้ำหนักสูงสุดตามที่กำหนดไว้ ในกรณีของพื้นลาดกำหนดอัตราการเอียงและน้ำหนักสูงสุดที่ใช้ในการยกไว้ ดังนี้

- ท้ายรถอยู่บนทางลาดทำมุมกับพื้น 4% เมื่อยกสัมภาระหนัก 4,999กิโลกรัม

- ท้ายรถอยู่บนทางลาดทำมุมกับพื้น 3.5% เมื่อยกสัมภาระน้ำหนัก 5,000 กิโลกรัม - 50,000 กิโลกรัม

2. การเคลื่อนตัวแนวตรง-ทดสอบโดยบรรทุกสัมภาระบนงายกที่ลดต่ำสุดแล้วเคลื่อนตัวรถไปข้างหน้า เมื่อเพิ่มน้ำหนักสัมภาระสูงสุดแล้วท้ายรถจะต้องไม่กระดกเมื่อรถตั่งอยู่บนแทนทดสอบและทางลาดทำมุมกับพื้น 18%

3. การยกกองสัมภาระแนวเอียง-ทดสอบโดยให้รถโฟล์คลิฟท์จอดอยู่บนแท่นทดสอบจนถึงพื้นลาด จากนั้นทำการยกกองสัมภาระบนงายกที่เลื่อนสูงขึ้นจนสุดเสากระโดง ทั้งนี้ หลังจากเพิ่มน้ำหนักสัมภาระสูงสุดแล้ว ล้อรถด้านข้างจะต้องไม่กระดกเมื่อรถตั้งอยู่บนแท่นทดสอบและทางลาดด้านข้างทำมุมกับพื้น 6%

4.การเคลื่อนตัวแนวเอียง-ทดสอบโดยบรรทุกสัมภาระบนงายกที่ลดต่ำสุดแล้วเคลื่อนตัวรถไปข้างหน้าสอบและพื้นที่ลาด ทั้งนี้ล้อด้านข้างจะต้องไม่กระดกจนกว่าจะทำการยกสัมภาระน้ำหนักสูงสุดตามที่กำหนดไว้ ในกรณีของพื้นลาด กำหนดอัตราการเอียงและน้ำหนักสูงสุดที่ใช้ในเคลื่อนตัวไว้ ดังนี้

- ล้อด้านข้างอยู่บนทางลาดทำมุมกับพื้น 40% เมื่อบรรทุกสัมภาระน้ำหนัก 4,999 กิโลกรัม

- ล้อด้านข้างอยู่บนทางลาดทำมุมกับพื้น 50% เมื่อบรรทุกสัมภาระน้ำหนัก 5,000 กิโลกรัม-50,000 กิโลกรัม

ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนตัวรถด้วย

การทดสอบที่ 1 และ 2 เพื่อพิจารณาความมั่นคงของตัวรถที่จะไม่เกิดการพลิกคว่ำไปข้างหน้าเมื่อมีการยกสัมภาระ การทดสอบที่ 3 เพื่อพิจารณาความมั่นคงของตัวรถที่จะไม่เกิดการพลิกคว่ำด้านข้างเมื่อมีการยกสัมภาระ และ การทดสอบที่ 4 เพื่อพิจารณาความมั่นคงของตัวรถที่ไม่เกิดการพลิกคว่ำด้านข้างเมื่อเคลื่อนรถเปล่าไปข้างหน้า

ในการทดสอบตามมาตรฐานออสเตรเลียและมาตรฐานสากลดังกล่าวข้างต้น มีบทสรุปที่หน้าสนใจของโฟล์คลิฟท์ที่เข้าทดสอบ 178 คัน (ขนาดบรรทุกตั้งแต่ 1-48 ตัน) ดังต่อไปนี้

ข้อจำกัดส่วนต่อขยายของงายก (fork)

 ส่วนต่อขยายด้านข้างของงายกที่ไม่มีผลต่อสมดุลของตัวรถคือ ไม่เกิน 10 ซม. สำหรับโฟล์คลิฟท์ขนาดบรรทุก 6.3 ตัน และ 15 ซม. สำหรับโฟล์คลิฟท์ที่ใหญ่กว่า 6.3 ตันสำหรับ ระยะ 10 ซม. ที่ขยายได้สำหรับรถขนาด 6.3 ตัน สามารถขยายได้อีก 1/3 หรือราว 33.33% ถ้าใช้เสากระโดงสูง 4.3 เมตร และ 25% ถ้าใช้ เสากระโดงสูง 6.0 เมตร

- การพลิกคว่ำเมื่อจอดอยู่กับที่

 ค่าโดยเฉลี่ยการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกจากอัตราที่กำหนดไว้ที่รถโฟล์คลิฟท์จะไม่พลิกคว่ำคือ 37%

 ค่าขั้นต่ำในการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกจากอัตราที่กำหนดไว้ที่รถโฟล์คลิฟท์จะไม่พลิกคว่ำคือ 21%

 80% ของรถโฟล์คลิฟท์ที่เข้ารับการทดสอบ สามารถเพิ่มน้ำหนักบรรทุกจากอัตราที่กำหนดไว้ได้โดยเฉลี่ย 33%~60%

- การพลิกคว่ำไปข้างหน้าเมื่อมีการเบรค

เมื่อขับโฟล์คลิฟท์ไปข้างหน้าก้จะต้องมีการใช้เบรกตามมา ซึ่งตัวแปรความปลอดภัย (Safety factor) ที่เป็นความสมดุลของตัวรถจะเริ่มลดลง เมื่อมีการใช้เบรก น้ำหนักตัวรถและสัมภาระจะเทไปข้างหน้ารถทำให้มีแนวโน้มที่โฟล์คลิฟท์จะพลิ่กคว่ำไปข้างหน้า แม้ว่าจะใช้ความเร็วไม่มากนักแต่เมื่อมีการเบรกก็มีโอกาสจะทำให้รถเสียสมดุลดังกล่าว การเพิ่มน้ำหนักบรรทุกบนงายกที่เกินกำหนดและมีการเบรกอย่างเต็มที่ (Full Braking) ย่อมทำให้เกิดการเสียสมดุลอย่างรุนแรงจนเกิดการพลิกคว่ำอย่างง่ายดาย

มหาวิทยาลัยโมแนชได้ทำการทดสอบในประเด็นนี้และได้ข้อสรุป คือ

 ค่าเฉลี่ย : เมื่อบรรทุกน้ำหนักเกินอัตรากำหนด 0.27 เท่า และทำการเบรกเต็มที่จะทำให้เกิดการพลิกคว่ำไปข้างหน้า

 ค่าชัดเจนที่สุด : เมื่อบรรทุกน้ำหนักเกินอัตรากำหนด 0.43 เท่า และทำการเบรกเต็มที่จะทำให้เกิดการพลิกคว่ำไปข้างหน้า เช่นเดี่ยวกับการขับถอยหลังด้วยความเร็ว เมื่อมีการเบรกก็จะมีการเกิดผลกระทบต่อสมดุลตัวรถโฟล์คลิฟท์เหมือนกับการขับไปข้างหน้า

ผลที่จะได้รับกับแนวโน้มการพลิกคว่ำไปข้างหน้าเมื่อมีการเบรก 

ผลที่จะได้รับจากแนวโน้มการพลิกคว่ำไปข้างหน้าเมื่อมีการเบรกหรือการเร่งถอยหลัง (ขึ้นอยู่กับรูปแบบโฟล์คลิฟท์และชนิดของสัมภาระ) มีดังต่อไปนี้

- ท้ายรถโฟล์คลิฟต์อาจจะกระดก แล้วสัมภาระจะตกจากงายก จากนั้นล้อหลังจะตกลงพื้น
- ท้ายรถโฟล์คลิฟต์อาจจะกระดก แต่สัมภาระอาจอยู่บนงาที่ครูดไปกับพื้น เมื่อรถหยุดล้อหลังจะตกลงพื้น
- ท้ายรถโฟล์คลิฟต์อาจจะกระดก แต่งายกไปชนกับสิ่งกีดขวาง สัมภาระจะหล่นลงพื้น ใรขณะที่ตัวคนขับจะถูกเหวี่ยงมาข้างหน้าและกระแทกกับเสากระโดงหากไม่ได้รัดเข็มขัดนิรภัย
- ถ้ามีการยกสัมภาระขึ้นท้ายรถอาจจะกระดก สัมภาระตกจากงายกแล้วล้อหลังตกลงพื้น
- ถ้าสัมภาระ (เช่น กล่องคอนเทนเนอร์) ผูกแน่นติดกับงายกแล้วยกสูงขึ้น ขอบกล่องจะกระแทกพื้นขณะที่ล้อหลังกระดกขึ้นสูง ทำให้รถพลิกคว่ำไปข้างหน้า
- สัมภาระผูกโยงกับงายกแล้วยกสูงขึ้น กล้องจะกระแทกพื้นขณะที่ล้อหลังกระดกขึ้นสูงมาก ทำให้รถพลิกคว่ำไปข้างหน้า
- ถ้าสัมภาระมีลักษณะที่ยาวมาก (เช่นกล่องคอนเทนเนอร์หรือลังบรรจุผลิตภัณฑ์ต่างๆ) และผูกแน่นติดกับงายกแล้วยกสูงขึ้น ฟอร์กลิฟต์จะพลิกคว่ำไปข้างหน้าเพราะขอบกล่องด้านนอกสุดจะกระแทกพื้นทันทีทำให้น้ำหนักไหลไปรวมด้านหน้า รถจะพลิกคว่ำไปข้างหน้าโดยที่ล้อหลังไม่มีโอกาสตกพื้นเพื่อรักษาสมดุลของตัวรถ

กล่าวโดยสรุป จากหลายกรณีศึกษาพบว่า การเบรกรถโฟล์คลิฟท์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อมีการบรรทุกสัมภาระ และมีการเบรกอย่างแรงโดยรถจะไม่พลิกคว่ำไปข้างหน้าแต่สัมภาระบนงายกจะเคลื่อนไปข้างหน้าหรือตกลงจากงายกทั้งนี้ความเสี่ยงจะสูงขึ้นถ้าผูกสัมภาระติดกับหรือผูกโยงกับงายกซึ่งจะเกิดการพลิกคว่ำไปข้างหน้าอยู่บ่อยๆ ดังนั้น คนขับโฟล์คลิฟท์ต้องไม่เบรกอย่างแรง ตามกฏหมายความปลอดภัยของออสเตรเลียจะมีการกำหมดความดันที่ใช้กับเบรกเพื่อป้องกันการเบรคที่รุ่นแรงจะทำให้เกิดการพลิกคว่ำไปข้างหน้าแต่ต้องใช้ระยะการหยุดที่ค่อนข้างยาวทำให้คนขับเหยียบเบรกแรงขึ้นเพื่อลดระยะการหยุดให้สั้นลง

บางกรณีที่มีคนเดินเท้าอยู่ข้างหน้าอาจจะมีการชนขึ้น คนขับอาจเบรกอย่างแรงหรืออย่างกระทันหัน เพื่อหยุดรถในระยะสั้นๆ จึงต้องมีการกำหนดความเร็วเข้ามาร่วมด้วยเพื่อให้ระยะการหยุดรถอยู่ในระดับยอมรับได้ เป็นการลดความเสี่ยงที่เกิดการชนเมื่อมีคนเดินเท้าเข้ามาอยู่ในทางวิ่ง นอกเหนือไปจากความเสี่ยงต่อการพลิกคว่ำ ไปข้างหน้าของโฟล์คลิฟท์

การพลิกคว่ำไปด้านข้างเมื่อวิ่งรถเปล่า

75%ของการพลิกคว่ำไปด้านข้าง เกิดขึ้นเมื่อมีการวิ่งรถเปล่า เนื่องจากน้ำหนักถ่วงที่จะทำให้เกิดการสมดุลทางด้านข้าง ปัจจัยสำคัญที่เข้ามาร่วมด้วย เช่น ความเร็วที่ใช้ และรัสมีการเลี้ยว

โดยการออกแบบแล้ว โฟล์คลิฟท์เป็นพาหนะที่มีความคล่องตัวสูง หน้าไว และมีวงเลี้ยวแคบมาก ที่สำคัญคือ มีแนวโน้มจะเกิดการพลิกไปด้านข้างได้ตลอกเวลา ตัวฟอร์กลิฟต์เปล่ามีแรงด้านการพลิกด้านข้างค่อนข้างต่ำ จากการทดสอบเพื่อหาผลลัพธ์การลดความเสี่ยงต่อการพลิกคว่ำด้านข้างของฟอร์กลิฟต์ สรุปได้ดังต่อไปนี้

- ในการวิ่งรถเปล่า โดยเฉลี่ยแล้ว ให้ใช้ความเร็ว 1/3 ของความเร็วสูงสุดที่กำหนดไว้สำหรับรถขนาดเล็กขนาดความสามารถในกายกไม่เกิน 5 ตัน ควรลดความเร็วให้เหลือประมาณ 6 กม./ชม. แต่ไม่ควรเกิน 8 กม./ชม..

- การใช้ล้อหน้าแบบยางคู่ในแต่ละข้าง (Dual Tyres) สามารถเพิ่มความสมดุลของตัวรถขณะวิ่งรถเปล่าเพิ่มขึ้น 20 % เมื่อเทียบกับการใช้ล้อหน้าแบบยางเส้นเดียวในแต่ละข้าง

- การใช้ล้อหน้าแบบยางคู่ในแต่ละข้าง (Dual Tyres) สามารถเพิ่มความเร็วของฟอร์กลิฟต์เพิ่มขึ้นได้อีก 10% โดยไม่มีผลกระทบต่อสมดุลนั่นคือ สามารถใช้ความเร็วได้ 9 กม./ชม.

ข้อเสนอแนะ การลดความเสี่ยงต่อการพลิกคว่ำด้านข้างขณะวิ่งรถเปล่า หากเป็นฟอร์กลิฟต์ชนิดล้อหน้ายางเดียวในแต่ละข้างให้จำกัดความเร็วไว้ที่ 8 กม./ชม. และชนิดล้อหน้ายาวคู่ในแต่ละข้างให้จำกัดความเร็วไว้ที่ 9 กม./ชม.ข้อยกเว้นที่เป็นไปได้คือ

- ฟอร์กลิฟต์นั้น ผู้ผลิตได้รับการรับรองว่าขณะวิ่งรถเปล่าสามารถใช้ความเร็วสูงกว่าที่ระบุไว้ได้อย่างปลอดภัย

- สภาพแวดล้อมการทำงาน (เส้นทางวิ่ง) ที่แตกต่างหรือเปลี่ยนแปลงได้ต้องนำมาเป็นประเด็นในการพิจารณาการจำกัดความเร็วใหม่ ตัวอย่างเช่น พื้นถนนที่ไม่เรียบต้องจำกัดความเร็วให้ต่ำกว่าที่เตยใช้ปกติ 

ผลกระทบจากการใช้ยางต่างชนิด

ยางที่ใช้กับรถฟอร์กลิฟต์มีสองชนิดคือ ยางตันและยางลม (ใช้ทั้งชนิดที่มี และไม่มียางใน) การทดสอบกับรถฟอร์กลิฟต์ขนาด 2.7-2.9 ตัน ความสูงของชวงยกอยู่ในระดับ 4.5 เมตร (4,500 มม.) ได้ผลสรุป คือ

- ยางตันให้การเอียงที่ขอบยางน้อยกว่ายางชนิดเติมลมถึง 5.6 เท่า ทำให้การทรงตัวขณะวิ่งหรือขณะเบรกดีกว่า

- อัตราเลื่อนไปข้างหน้าของสัมภาระบนงายกถ้าใช้ยางเติมลมจะมีอัตรา 164 มม. ในขณะที่ยางตันมีอัตราเพียง 26 มม.

- ในการรับน้ำหนักขณะยกสัมภาระสูงขึ้น ยางตันสามารถรับน้ำหนักได้ 500 กิโลกรัม บนช่วงยกที่ความสูง 4,775 มม. ในขณะที่ยางเติมลม สามารถรับน้ำหนักได้เพียง 210 กก. ที่ความสูง 4,300 มม.

- เมื่อบรรทุกสัมภาระแล้วยกขึ้นจนสุดความสูงเสากระโดง อันตราเสียงที่จะเกิดการพลิกคว่ำไปข้างหน้าของโฟล์คลิฟท์ที่ใช้ยางตันมีน้อยกว่าโฟล์คลิฟท์ที่ใช้ยางเติมลมถึงหนึ่งเท่าตัว

ข้อเสนอแนะ การเลือกใช้ยางชนิดเติมลม ควรเป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับโฟล์คลิฟท์ที่ใช้งานบนพื้นผิวเรียบเพราะมีค่าความเสี่ยงต่อการเสียสมดุลสูงเมื่อเกิดแรงอันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่และการหยุดรถ รวมทั้งไม่ควรใช้ยางชนิดเติมลมกับฟอร์กลิฟต์ที่ใช้งานบนพื้นผิวที่มีความสูงต่ำแตกต่างกันมาก เช่น บริเวณที่มีลูกระนาด มีหลุมบ่อ ฯลฯ

ความสามารถในการบรรทุกและความสูงของโฟล์คลิฟท์

สำหรับโฟล์คลิฟท์ชนิดเดี่ยวกัน การแยกแยะความแตกต่างจะอยู่ลักษณะการออกแบบของเสากระโดงที่เป็นตัวรับงายกโดยที่อัตราการยกสูงของงายก จะเป็นตัวกำหนดยางล้อหน้าที่จะนำใช้ว่าจะเป็น ยางเดี่ยวหรือยางคู่ในแต่ละข้าง ในการทดสอบโฟล์คลิฟท์ขนาดงายกมาตรฐาน (50 ซม.) มีข้อสรุปที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

- ยางเดี่ยวเหมาะสมที่จะใช้กับโฟล์คลิฟท์ที่งายกเลื่อนได้สูงสุด 4.0 เมตร

- ยางคู่เหมาะสมที่ใช้กับโฟล์คลิฟท์ที่งายกลื่อนได้สูงสุด 5.0 เมตร หรืองายกที่มีกระบอกสูบไฮดรอลิกที่ยกของได้ 2.5 ตันหรือมากกว่า

โดยสรุปแล้ว เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานโฟล์คลิฟท์ ยางล้อหน้าแบบยางเดี่ยวในแต่ละข้างขนาดเล็ก สามารถใช้ได้กับฟอร์กลิฟต์ที่งายกเลื่อนขึ้นสูงสุดในระยะ 4.0-4.5 เมตร ในขณะล้อหน้าแบบยางคู่แต่ละข้างสามารถใช้ได้กับโฟล์คลิฟท์ที่งายกเลื่อขึ้นสูงสุดในระยะ 5.0-5.5 เมตร

ความสามารถในการยกสัมภาระของระบบไฮดรอลิก

นอกจากจะคำนึงถึงความสามารถในการบรรทุกสัมภาระบนงายกแล้ว ในการเลือกซื้อโฟล์คลิฟท์ เราจะต้องพิจารณาความสามารถในการยกของงาไฮดรอลิกด้วย โฟล์คลิฟท์ที่ใช้กันทั่วไปในออสเตรเลีย จะมีความสามารถในการยกของงายกไฮดรอลิก 155% ของอัตราที่ผู้ผลิตระบุไว้ (nominal capacity of the forklift) เหตุผลที่ต้องมีค่าความสามารถในการยกเกินค่าความสามารถที่ระบุไว้ถึง 55% เนื่องจากคนขับรถส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าสัมภาระที่จะทำการยกขึ้นจนสุดความสูงสุดของเสากระโดงมีน้ำหนักสุดธิเท่าไหร่กันแน่ (บางครั้งยกสัมภาระน้ำหนักเกินค่าความปลอดภัย 300%-400% ซึ่งอันตรายมาก) เพื่อลดความเสี่ยงต่อการพลิกคว่ำด้านข้างจึงให้ผู้ผลิตออกแบบระบบไฮดรอลิกที่มีความสามารถในการยกสูงกว่าค่ากำหนดโดยเฉพาะค่ากำหนดเรื่องความสูงของงายก

ประเด็นสำคัญคือ จะต้องมีการตรวจสอบให้แน่ชัดว่าความสามารถในการยกของไฮดรอลิกมีเท่าไหร่และมีค่าสวนเกินในการยกที่ไม่มีผลกระทบต่อสมดุลตัวรถกี่เปอร์เซ็นต์ อัตราตัวเลขในเรื่องนี้อาจเป็นแต้มต่อทางการค้าของผู้ผลิตแต่เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน Accident Research Centre, Monash University แนะนำว่า ไม่ควรยกสัมภาระสูงเกินความสามารถสุดในการยกที่ผู้ผลิตระบุไว้ แต่ถ้าจำเป็นก้ไม่เกิน 10%

ประเด็นความมั่นคงของโฟล์คลิฟท์และมาตรการลดความเสี่ยง

โฟล์คลิฟท์ทุกคันที่นำมาใช้งานจะต้องมีความมั่นคงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ คนขับหรือคนควบคุมรถ จะต้องมีความระมัดระวัง ทั้งในการขับเคลื่อน การเบรก การยก การถอยหลัง โดยยึดหลัก "ปานกลาง"(moderate) นั่นคือรักาาระดับความเคลื่อนไหวของโฟล์คลิฟท์ไม่ให้แรงหรือเบาจนเกินไป เนื่องจากความมั่นคงของโฟล์คลิฟท์มีค่าค่อนข้างต่ำซึ่งพร้อมจะเกิดการเสียสมดุลจนทำให้เกิดการพลิกคว่ำได้ทุกเมื่อ ทั้งนี้ สำนักความปลอดภัยของออสเตรเลียได้ให้ ข้อเสนอประเด็นความมั่นคงและมาตรการลดความเสี่ยงในการทำงานไว้ ดังต่อไปนี้

1. ปฏิบัติงานโฟล์คลิฟท์ตามมาตรฐานการทำงานที่หน่วยงานกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของตัวรถ

2. ผู้ผลิตควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับผลการทดสอบเกี่ยวกับความมั่นคงของโฟล์คลิฟท์คันที่เลือกชื้อเพื่อให้ลูกค้านำไปเป็นข้อมูล ในการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการใช้งาน

3. ผลการทดสอบเกี่ยวกับความมั่นคงของโฟล์คลิฟท์ ควรเป็นข้อมูลในสถานการณ์เลวร้ายที่สุด (worst case scenario) และข้อจำกัดต่างๆ เพื่อให้ลูกค้านำไปเป็นข้อมูลในการกำหนด ข้อหลีีกเลี่ยงสำหรับลดความเสี่ยงในการใช้งาน

4. ข้อมูลสำคัญที่ลูกค้าควรจะรับทราบได้แก่ ระยะการเบรก พร้อมกับข้อแนะนำในการรักษาระยะการเบรกไว้ให้คงที่ตามที่ระบุไว้ เช่น การลดความเร็วลงเมื่อน้ำหนักของสัมภาระที่บรรทุกอยู่เพิ่มขึ้นมาหรือเมื่อสัมภาระมีความสูงเพิ่มขึ้น โดยอาจทำเป็นตารางกำหนดค่าความเร็วตามน้ำหนักบรรทุกและความสูงของสัมภาระแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน

5. เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดการพลิกคว่ำด้านข้างเมื่อวิ่งรถเปล่า ควนจำกัดความเร็วของโฟล์คลิฟท์ที่ 8 กม./ชม. หากใช้ยางล้อหน้าแบบคู่จำกัดไว้ที่ 9 กม./ชม. ยกเว้น หากผู้ผลิตมีอุปกรณ์หรือมาตรการเสริมที่พิสูจน์ได้ว่ามีความปลอดภัยเมื่อใช้ความเร็วที่สูงกว่านี้ก้อาจจะเพิ่มอัตราการจำกัดความเร็วได้มากกว่าที่ระบุไว้

6. แม้ว่าจะใช้รถโฟล์คลิฟท์รุ่นใหม่ที่มีอุปกรณ์จำกัดความเร็วอัตโนมัติตามความสูงของสัมภาระและปรับรัศมีการเลี้ยวจากตำแหน่งของล้อหน้า แต่คนขับรถโฟล์คลิฟท์คันนี้จะต้องระลึกถึงหลักการพื้นฐานไว้ข้อหนึ่ง นั่นคือ ทุกๆ 1 เมตรที่สัมภาระสูงขึ้นจะต้องลดความเร็วลงเมื่อมีการเลี้ยวเพราะระบบอัตโนมัติจะใช้ความเร็วคงที่แม้แต่เลี้ยว (ถึงจะมีการปรับตำแหน่งล้อหน้าแต่หากยังใช้ความเร็วเท่าเดิมก็ถือว่ายังมีความเสี่ยงอยู่เช่นเดิม)

7. การเลือกใช้ยางชนิดเติมลม ควรเป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับฟอร์กลิฟต์ที่ใช้งานบนพื้นเรียบเพราะมีความเสี่ยงต่อการเสียสมดุลสูงเมื่อเกิดเเรงเหวี่ยงอันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่หรือการหยุกรถ รวมทั้ง ไม่ควรใช้ยางชนิดเติมลมกับโฟล์คลิฟท์ที่ใช้งานบนพื้นผิวขรุขระหรือมีระดับแตกต่างกัน เช่น ทางลูกรัง ทางหินกรวด บริเวณที่มีลูกระนาดหรือหลุมบ่อ ฯลฯ

8. ในกรณีจะมีการใช้ยางชนิดเติมลมกับรถโฟล์คลิฟท์สำหรับวิ่งบนทางขรุขระ และจะต้องยะกสัมภาระขึ้นสูงสุด หากมีหลุมลึกเกิน 20 มม.หรือมีเศษวัสดุกีดขวางอยู่จนอาจเกิดอันตรายกับยาง จะต้องเตรียมอุปกรณ์การซ่อมบำรุงยางไว้ เพื่อแก้ปัญหาฉุกเิฉินอันอาจจะเกิดขึ้นได้

9. หากไม่มีมาตรการความปลอดภัยที่ได้รับการรับรองเพิ่มเติมใดๆ จากผู้ผลิกในการลดความเสี่ยงต่อการพลิกคว่ำไปด้านข้าง โฟล์คลิฟท์ที่ใช้ยางล้อหน้าแบบยางเดี่่ยว ควรจำกัดความสูงในการยกของแขนไฮดรอลิกไว้ที่ 4.0-4.5 เมตร ส่วนโฟล์คลิฟท์ที่ใช้ยางล้อหน้าแบบยางคู่ควรจำกัดความสูงในการยกของแขนไฮดรอลิกไว้ที่ 5.0-5.5 เมตร

10. โฟล์คลิฟท์ที่ซื้อมาเพื่อใช้ยกสัทภาระขึ้นจนสุดความสูงที่ผู้ผลิตระบุไว้ ควรกำหนดให้ผู้ใช้งานระมัดระวังไม่ให้มีการยกงาไฮดรอลิกที่มีสัมภาระบรรทุกอยู่สูงเกิน 10% ของค่าสูงสุดที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ เช่น ผู้ผลิตระบุว่าไฮดรอลิกยกสูงสุดได้ 3.0 เมตร หากจำเป็นต้องยกสูงกว่านี้จะต้องไม่เกิน 3.3 เมตร ทั้งนี้ ต้องแน่ใจว่าเสากระโดง (mast) ที่ใช้อยู่เอื้ออำนวยให้ทำได้ด้วย

11 . ควนเลือกใช้โฟล์คลิฟท์ที่มีระบบป้องกันการกระดกไปข้างหน้าของเสากระโดงเมื่อมีการยกสัมภาระสูงเหนือระดับ 1.6-2.0 เมตร ซึ่งระบบนี้จะทำให้เสากระโดงกระดกไปข้างหน้าไม่เกิน 2 องศาที่ความสูงเหนือระดับดังกล่าวขึ้นไป

12. ถ้างายกมีส่วนต่อพ่วงหรือเป็นแบบตระแกรงที่มีขอบยื่นออกมาจากแนวตัวรถ ซึ่งมีผลกระทบกับความมั่นคงของตัวรถ ควรพิจารณาใช้ยางล้อหน้าเป็นแบบยางคู่ (Dual tyres) ขนาดใหญ่ร่วมกับระบบซับแรงที่มากระทบกับเสากระโดงของโฟล์คลิฟท์

13. ในการยกสัมภาระบนงายกของรถโฟล์คลิฟท์ขึ้นไปบนรถบรรทุกหรือลงมาจากรถบรรทุกด้วยงายกโฟล์คลิฟท์ ควรมีมาตรการความปลอดภัยระหว่างการขนถ่ายให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับได้ ตัวอย่างมาตรฐานความปลอดภัย เช่น กำหนดจุดที่ตั้งที่มั่นคงของรถบรรทุก กำหนดจุดทำงานของรถโฟล์คลิฟท์ห่างจากรถบรรทุกในระยะที่สามารถยกของได้สะดวกและปลอดภัย มีผู้ควบคุมการทำงานหรือผู้สนับสนุนการทำงาน (คอยบอกระยะและดูแลความเรียบร้อยทั่วไป) เป็นต้น

ความรู้เกี่ยวกับรถโฟล์คลิฟท์ ปทุมธานี

ความรู้เกี่ยวกับรถโฟล์คลิฟท์,โฟร์คลิฟท์,ฟอร์คลิฟท์,FORKLIFT

                 เอาความรู้เกี่ยวกับโฟร์คลิฟท์ มาฝากครับ :: ความหมายและประเภทของรถยก รถยก หรือ "โฟร์คลิฟท์" หรือ "ฟอร์คลิฟท์" มาจากคำภาษา อังกฤษว่า "FORKLIFT" ซึ่งเป็นการผสมคำสองคำ คือ "FORK" ที่แปลว่า "ช้อนส้อม" และ คำว่า "LIFT" ที่แปลว่า "การขึ้นลงในแนว ประเภทและชนิดของ.. รถยก รถยกแบ่งออกตามประเภทของต้นกำลังขับเคลื่อนได้ 2 ประเภท คือ 1. ENGINE FORKLIFT รถยกที่ใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง โดยใช้นำมันเป็นเชื้อเพลิง รถยกประเภทนี้สามารถแบ่งออกตามชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ได้ 3 ประเภท คือ 
1.1) DIESEL ENGINE (เครื่องยนต์ดีเซล)
 1.2) GASOLINE ENGINE (เครื่องยนต์แก๊สโซลีน) 
1.3) L.P.G. ENGINE (เครื่องยนต์แก๊ส L.P.G.)
 นอกจากนั้นรถยกที่ใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง สามารถแบ่งตามระบบส่งกำลังได้ 2 ประเภท 
- ระบบส่งกำลังด้วยทอร์ค (TOROFLOW TRANSMISSION)
 - ระบบส่งกำลังด้วยคลัทซ์ (DIRECT DRIVE) 2. BATTERY FORKLIFT 
รถยกไฟฟ้าใช้มอเตอร์เป็นต้นกำลังขับเคลื่อนโดยได้รับกระแสไฟฟ้ามาจากแบตเตอรี่ รถยกไฟฟ้าสามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างภายนอกได้เป็น 2 แบบ คือ 
- แบบ COUNTER BALANCIT (แบบนั่งขับ)
 - แบบ REACH TURCK (แบบยืนขับ) 
:: อุปกรณ์และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถยก
 1. เสารถยก (Mast) คือ อุปกรณ์รางเลื่อนให้งาขึ้น-ลง โดยทั่วไปเสารถยกจะมี 2 ท่อน ซึ่งยกได้ประมาณ 3 เมตร แต่ถ้าต้องการยกได้สูประมาณ 5-6 เมตร จะต้องเปลี่ยนเสาให้สูงขึ้น หรือ ใช้เสา 3 ท่อน Full Free Mast คือ อุปกรณ์พิเศษของเสา เป็นเสาที่สามารถนำไปใช้ในสถานที่ที่มีความจำกัด
 2. กระบอกไฮดรอลิค (Hydraulic) โดยมาตราฐาน รถยกจะมีกระบอกไฮดรอลิคอยู่จำนวน 3 ชุดดังนี้        2.1) กระบอกยก คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่ยกงาขึ้นลง มีสองกระบอก 
          2.2) กระบอกคว่ำ-หงาย คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่เอียงเสาไปหน้าและหลัง มีสองกระบอก
         2.3) กระบอกบังคับเลี้ยว คือ กระบอกไอดรอลิคที่ทำหน้าที่บังคับการเลี้ยวของรถยก มีหนึ่งกระบอก  
 3. งารถยก (Fork) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ยกสัมภาระต่าง ๆ และงารถยกยังเป็นอุปกรณ์ที่ "อันตราย" ที่สุด งานของรถยกมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะของสัมภาระที่จะยก
 4. ล้อหน้า (Front Wheel) คือ ล้อที่มีหน้าที่ 3 ประการ ดังนี้
     4.1) รับน้ำหนักบรรทุก หรือ ล้อโหลด 
     4.2) ขับเคลื่อน
     4.3) เบรค ล้อของรถยกไฟฟ้าแบบยืนขับ จะมีล้ออยู่ 3 ชนิด ดังนี้ - ล้อรับน้ำหนักบรรทุก หรือ ล้อโหลด - ล้อขับเคลื่อน - ล้อประคอง
 5. ล้อหลัง (Rear Wheel) คือ ล้อที่ทำหน้าที่บังคับเลี้ยวเพียงอย่างเดียว 


:: ทำไมเราต้องตรวจสภาพรถยก ก่อน และ หลัง การใช้งาน
 1. เพื่อให้รถยกมีสภาพพร้อมใช้งาน 
2. เพื่อความปลอดภัยของคนขับรถยกและผู้ร่วมงาน 
3. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กร 

:: การสังเกตุการทำงานของรถยก การสังเกตุการทำงานของรถยก หมายถึง ในขณะที่ใช้งานรถยกระหว่างวัน จะต้องคอยสังเกตการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ของรถยกด้วย ว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น     1.) การทำงานของเบรค เช่น เมื่อใช้เบรคจะมีเสียงดัง หรือ เบรคไม่อยู่      2.) การทำงานของเครื่องยนต์ เช่น เร่งเครื่องแล้วสะดุด หรือ มีเสียงผิดปกติ      3.) สังเกตุเกย์วัดอุณหภูมิของเครื่องยนต์อยู่เสมอ ถ้าพบสิ่งผิดปกติจะต้องรีบดำเนินการแก้ไข      4.) สังเกตุการทำงานของระบบไฮดรอลิค เช่น เวลายกสัมภาระจะต้องเร่งเครื่องยนต์มากขึ้น หรือ เวลาเลี้ยวใช้แรงมากขึ้น 

::               การจ่ายไฟของแบตเตอรี่รถยก เมื่อ Cell แบตเตอรรี่ถูกชาร์ด้วยพลังงานไฟฟ้า Cell จะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเคมี และเก็บรักษาไว้ เมื่อทำการจ่ายไฟ Cell จะเปลี่ยนพลังงานเคมีกลับเป็นพลังงานไฟฟ้า และสำหรับ Cell ที่ใช้เป็นพลังงานขับเคลื่อนรถโฟร์คลิฟท์ คือ แบตเตอรี่ชนิด ตะกั่ว + กรด (Lead acid storage batterry) 

           :: ข้อดีของการใช้แบตเตอรี่ชนิด ตะกั่ว + กรด 1.) สามารถเก็บพลังงานและนำไปใช้ในสถานที่ต่าง ๆ ได้ โดยไม่มีสายไฟต่อพลังงานไฟฟ้าจากที่อื่น 2.) เป็นกระแสไฟฟ้า DC ที่ไหลสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นผลดีต่อ Speed controller ในการขับเคลื่อนมอเตอร์ 3.) มีความคงทน และอายุยาวนาน ทนต่อการสั่นสะเทือนและแรงกระแทกได้ดี 4.) ไม่มีเสียงดังรบกวนในขณะใช้งาน ซึ่งเป็นการป้องกันมลภาวะทางเสียงและอากาศ 5.) เป็นการง่ายในการดูแลบำรุงรักษา และการนำไปใช้งาน โดยผู้ใช้งานที่ไม่ต้องมีความรู้มากนัก และการดูแลก็เพียงแต่เตรียมน้ำกลั่นไว้เติมเมื่อระดับนำกรดพร่องเท่านั้น

                 :: การบำรุงรักษาแบตเตอรี่และข้อควรระวังในการชาร์จแบตเตอรี่     
1.) อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งในการชาร์จ ดังนั้น ควรจะชาร์จแบตเตอรี่ก็ต่อเมื่อได้ใช้กระแสไฟฟ้าใกล้จะหมด และในการชาร์จแต่ละครั้งจะต้องชาร์จต่อเนื่องเป็นเวลา 8 ชั่วโมงติดต่อกัน 2.) บริเวณที่ใช้เป็นที่ชาร์จแบตเตอรี่จะต้องเป็นสถานที่ที่อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี เนื่องจากในขณะที่ชาร์จ น้ำกลั่นจะระเหยออกมา  
3.) ก่อนทำการชาร์จแบตเตอรี่จะต้องเปิดฝาจุดเติมน้ำกลั่น เพื่อตรวจเช็คระดับน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับพอดี และตรวจสอบสภาพปลั๊กไฟว่าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่ชำรุด หรือแตกร้าว หรือไม่ถ้าชำรุดจะต้องดำเนินการแก้ไขก่อนทำการชาร์จ
 4.) จะต้องเสียบปลั๊กของแบตเตอรี่กับตู้ชาร์จให้แน่น เพื่อไม่ให้เกิดการอาร์ดของกระแสไฟ 
5.) จะต้องตรวจสอบขั้ว สะถานไฟ สายไฟ ของแบตเตอรี่ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
 6.) ถ้าขั้วแบตเตอรี่ และผิวของแบตเตอรี่ด้านบนสกปรก หรือมีขี้เกลือเกาะให้ทำความสะอาดด้วยน้ำร้อน และเช็ดให้แห้ง 
7.) ควรให้ช่างผู้ชำนาญงานตรวจเช็คค่าถ่วงนำเพาะ และแรงดันของเซลล์แบตเตอรี่แต่ละเซลล์ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 

                   
                :: การบำรุงรักษาประจำวัน ก่อนติดเครื่อง 
1. ตรวจดูความสะอาดภายนอก 
2. ตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ 
3. ตรวจระดับน้ำมันเครื่อง 
4. ตรวจดูระดับน้ำมันเชื้อเพลิง 
5. ตรวจดูระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ 
6. ตรวจระดับน้ำมันไฮโดรลิค 
7. ตรวจระดับน้ำมันเกียร์พวงมาลัย 
8. ตรวจดูระดับน้ำมันเบรค
 9. ตรวจระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่
 10. ตรวจความตึงของสายพานเครื่องยนต์ 
11. ตรวจการทำงานของเบรคมือและขาเบรค 
12. ตรวจระบบสัญญาณไฟเลี้ยว ไฟถอยหลัง ไฟส่องสว่างและสัญญาณแตร 
13. ตรวจสภาพความตึงของโซ่ยกของ 
14. ตรวจสภาพยาง 
15. ตรวจวัดลมยางและเติมให้ได้แรงดันตามที่กำหนดไว้ 
16. ตรวจรอยรั่วซึมตามจุดต่าง ๆ 
         หลังติดเครื่อง 
    1. ตรวจเช็คว่ามีเสียงดังผิดปกติจากเครื่องยนต์หรือไม่ 
    2. ตรวจดูไฟที่หน้าปัดดับหมดหรือไม่ 
    3. ตรวจระยะฟรีของพวงมาลัยและการบังคับเลี้ยว 
    4. ตรวจการทำงานของชุดควบคุมอุปกรณ์ยกงาว่าทำงานเรียบร้อยหรือไม่
 หลังการใช้งาน ขณะเครื่องยนต์ยังติดอยู่
      1. จอดรถในสถานที่จอดรถกำหนดไว้ 
      2. ลดงาของรถให้อยู่ในแนวราบกับพื้นโรงงาน 
      3. ล็อคเบรคมือให้เรียบร้อย 
      4. หล่อลื่นตามจุดต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เช่น โซ่ยกของ ชุดแผ่นทองเหลืองหลังเสา 
5. ตรวจเช็คดูการรั่วซึมจากการใช้งาน เช่น น้ำมันไฮโดรลิค น้ำมันเกียร์ น้ำมันเครื่อง และน้ำในหม้อน้ำ
 6. ตรวจเช็คฟังเสียงว่ามีเสียงอะไรผิดปกติหรือไม่ 
7. หลังจากการใช้งาน ควรปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาในตำแหน่งเกียร์ว่างประมาณ 3 นาที จึงค่อยดับเครื่องยนต์ 
        หลังดับเครื่องยนต์
    1. เติมน้ำมันให้เต็มถังเพื่อพร้อมการใช้งานในวันต่อไป
    2. ปลดเกียร์ว่างไว้เสมอ และดึงลูกกุญแจรถออกเก็บยังที่เก็บ