แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
จังหวัดปทุมธานี มีสถานที่ท่องเที่ยวเพียงแห่งเดียวที่จัดได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ คือ วัดไผ่ล้อม ตั้งอยู่ที่ ต. บ้านงิ้ว อ. สามโคก ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเมื่อปี พ.ศ. 2521 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมิถุนายน จะมีนกปากห่างอพยพย้ายถิ่นจากไซบีเรียมาอาศัยอยู่ที่วัดแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งภายในวัดจะมีหอดูนก เพื่อดูนกที่มักจะทำรังและเกาะอยู่ ตามยอดไม้
แหล่งท่องเที่ยวทางศิลปกรรม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
สถานที่ที่เป็นแหล่งรวมศิลปกรรมภายในจังหวัดปทุมธานี ส่วนใหญ่จะเป็นวัดต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ตามสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ |
| |
| | | | วัดสิงห์ ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ต. สามโคก อ. สามโคก ภายในบริเวณวัดเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปองค์สำคัญ คือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสมัยอยุธยา มีพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุศิลปมอญ นอกจากนี้ ชาวบ้านรอบ ๆ วัด ยังคงมีการทำอิฐมอญแบบเก่าเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัวให้เห็นอยู่ทั่วไปอีกด้วย | |
| | | | | | | | | | | | | |
|
วัดเจดีย์ทอง ตั้งอยู่ที่ ต. คลองควาย อ. สามโคก ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในวัดมีเจดีย์ทรงรามัญ อายุประมาณ 160 ปี ภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป ซึ่งสร้างด้วยหยกขาว ปางมารวิชัย เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป | |
| |
|
| | | | | | | | | | | | | |
| | | | | | | | วัดสะแก ตั้งอยู่ที่ ต. สามโคก อ. สามโคก ห่างจาก จ. ปทุมธานี ประมาณ 6 กิโลเมตร ภายในวัดมีกุฏิสงฆ์ อาคารทรงไทยแบบรามัญ เป็นอาคารไม้เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองและเจดีย์แบบอื่น และโบสถ์เก่าสมัยอยุธยา ซื่งในปัจจุบันอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมากเนื่องจากขาดการทำนุบำรุงรักษา
| |
| วัดตำหนัก ตั้งอยู่ที่ ต. สามโคก อ. สามโคก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 8 กิโลเมตร วัดนี้มีอุโบสถลักษณะฐานเป็นรูปท้องเรือสำเภาพระประธานในอุโบสถสร้างด้วยศิลาแลง และเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ซึ่งศิลปกรรมทั้งหมดอยู่ในสภาพทรุดโทรม ขาดการบำรุงรักษา
| | |
| | | | | | | | วัดบางหลวง ตั้งอยู่ที่ ต. บางหลวง อ. เมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 3 กิโลเมตร วัดมีสิ่งที่สำคัญ คือ พระอุโบสถทรงไทยโบราณ ภายในมีพระประธานปางมารวิชัยและภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพพุทธประวัติ นอกจากนี้ ยังมีเจดีย์มอญ 2 องค์ คือทรงชเวดากอง และมูเตา ซึ่งวัดนี้ใช้ประกอบศาสนพิธีของชาวบ้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน
| |
| วัดฉาง ตั้งอยู่ที่ ต. บ้านฉาง อ. เมือง ภายในวัดมีสิ่งสำคัญคือพระวิหารเก่า มีงานจิตรกรรมปรากฏอยู่ที่หน้าบันของวิหาร และพระพุทธรูปปางสมาธิที่สร้างจากสตางค์แดงทั้งองค์ ซึ่งประชาชนเลื่อมใสพากันมานมัสการอยู่มิได้ขาด นอกจากนี้ ยังมีศาลาท่าน้ำที่มีความงดงามอยู่ที่ลวดลายแกะสลักที่ชายคา วัดนี้ชาวบ้านใช้ประกอบศาสนพิธีตั้งแต่รัชกาลที่ 2 จนถึงปัจจุบัน แต่สภาพของวิหารเก่าชำรุดทรุดโทรมมาก ขาดการบำรุงรักษาที่ดี
| | |
| | | | | | | | วัดน้ำวน อยู่ที่ ต. บางเดื่อ อ. เมือง ห่างจากจังหวัดประมาณ 4 กิโลเมตร ในวัดมีเจดีย์ทรงรามัญ (ร่างกุ้ง) อุโบสถมีภู่หงส์และหน้าบันที่สวยงามรวมทั้งเสาหงส์หน้าอุโบสถ เป็นวัดที่มีประชาชนจากที่ต่าง ๆ มาเที่ยวชมเป็นจำนวนมากทุกวัน ทำให้เกิดการทิ้งขยะไม่เลือกที่ ไม่มีการรักษาความสะอาดที่ดีพอ
| |
| วัดถั่วทอง ตั้งอยู่ที่ ต. บ้านปทุม อ. สามโคก บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 15 กิโลเมตร วัดมีสิ่งสำคัญ คือ อุโบสถทรงไทยโบราณ มีหน้าบันไม้แกะสลักที่ศาลาการเปรียญหอระฆัง และพระประธานปางมารวิชัย สภาพของศาลาการเปรียญในปัจจุบันชำรุดทรุดโทรมมาก | | |
| | | | | | | | วัดโคก ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ต. บ้านฉาง อ. เมือง ภายในวัดมีพระประธานปางสมาธิ เจดีย์มอญก่อสร้างแบบก่ออิฐถือปูนทาสีขาว ธรรมมาสน์เก่าทำด้วยไม้มะเกลือฝังมุขลายถนนอายุกว่าร้อยปี และศาลาการเปรียญก่อสร้างด้วยไม้สัก เสาเป็นไม้แดง มีอายุ 100 ปีเศษ
| |
| วัดพลับสุธาวาส ตั้งอยู่ที่ ต. เชียงรากน้อย อ. สามโคก วัดมีสิ่งสำคัญ คือ พระพุทธรูปสร้างด้วยโลหะเงิน ปางสะดุ้งมาร ธรรมมาสน์ทำด้วยไม้สักฉลุสีแดงลายทอง และเจดีย์มอญอายุกว่า 100 ปี มีฐานเป็นสิงห์ องค์สถูปชั้นยอดเจดีย์เป็นดอกบัว 9 ชั้น ลักษณะของเจดีย์เป็นทรงสี่เหลี่ยม ปัจจุบันอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก | | |
| | | | | | | | วัดเมตารางค์ อยู่ในเขต ต. เชียงรากน้อย อ. สามโคก ภายในวัดมีเจดีย์แบบชะเวดากองเป็นรูป 8 เหลี่ยม ยอดเจดีย์มีฉัตรทำด้วยทองเหลืองเป็นลายเทพพนม อายุ 150 ปี หอสวดมนต์พื้นไม้สัก เสาไม้แก่นกลม ศาลาการเปรียญมีเสาหงส์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัดมอญ มีรูปหงส์อยู่บนยอดเสา
| |
| | | | | | |
| | | | | | | | |
| วัดโบสถ์ ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านกลาง อ.เมือง วัดมีสิ่งสำคัญ คือธรรมมาสน์ที่มีอายุ 100 ปีเศษ เป็น ธรรมมาสน์บุษบก สร้างด้วยไม้สักแกะสลักเจดีย์ทรงเหลี่ยมธรรมดาที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา วิหารที่ใช้ ชามโบราณประดับหอสวดมนต์สร้างด้วยไม้ที่มีค่าทั้งสิ้น คือเสาเหลี่ยมไม้เต็ง 28 ต้น หน้ากว้าง 6 นิ้ว และ 8 นิ้ว ส่วนพื้นเป็นไม้แดง และอุโบสถที่ตกแต่งด้วยลวดลาย ทั้งที่ประตูหน้าต่างและพื้นที่โดยรอบ
| | |
| | | | | | | | | | | | | |
| | | | | | | | วัดบ้านพร้าวใน อยู่ใน ต.เชียงรากใหญ่ อ.สามโคก ภายในวัดมีพระประธานหลวงพ่อโต อายุ 80 ปี ก่ออิฐฉาบปูนขาวผสมน้ำอ้อย อุโบสถอายุ 115 ปี มีลักษณะเป็นทรงไทยโบราณ และเจดีย์ที่มีอายุ 130 ปี แบบรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีกนกลายสิงห์ ฐานลายเท้าสิงห์
| |
วัดบางคูวัดใน ตั้งอยู่ที่ ต.บางคูวัด อ.เมือง ภายในวัดมีสิ่งสำคัญ คือ อุโบสถที่ตกแต่งซุ้มประตูด้วยลายไทยรูปเทพพนม ยักษ์ และครุฑ | | | |
| | | | | | | | | | | | | |
| | | | | | | วัดหงส์ปทุมาวาส (วัดมอญ) ตั้งอยู่ที่ ต.บางปรอก อ.เมือง วัดมีเจดีย์ทรงรามัญ จำลองแบบมาจากเจดีย์จิตตะกอง วิหารจำลองได้แบบมาจากกรุงหงสาวดี หลังคาเป็นชั้น ๆ มีลวดลายที่สวยงามมาก อุโบสถเป็นอุโบสถสร้างใหม่ตามสถาปัตยกรรมของไทย มองเห็นช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ได้แต่ไกล ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธประวัติ และยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนมาก
| |
| | | | | | | | |
| วัดเจดีย์หอย ตั้งอยู่ที่ ต.บ่อเงิน อ.ลาดหลุมแก้ว มีการค้นพบซากเปลือกหอยนางรมยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ จมอยู่ในดินเป็นเวลาหลายร้อยปี เป็นเปลือกหอยนางรมขนาดใหญ่จำนวนมหาศาลมีเป็น แห่งแรกในประเทศไทย ทางวัดได้นำมาจัดทำเป็นรูปเจดีย์หอยจำลองแบบมาจากประเทศพม่า เป็นที่สนใจของประชาชน นักธรณีวิทยา นักประวัติศาสตร์และชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
วัดโบสถ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกลาง ทางฝัง่ตะวันออกของแม่นำ้เจ้าพระยา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2164 โดยชาวมอญที่อพยพมาจากเมืองหงสาวดี มีเสาหงส์ สร้างขึ้นไว้เป็นสัญลักษณ์แห่งเมืองหงสาวดี สิ่งสำคัญ ในโบสถ์ คือ พระแสงอาญาสิทธิ์ ของเก่าแก่จากรามัญ ช้างสี่เศียรใช้ติดตั้งประดับหัวเสา พระทรงเครื่องอยู่ในโบสถ์ของวัด ละรูปปั้นสุนัขย่าเหลหล่อด้วยตะกั่วที่เจ้าอาวาสได้รับพระราชทานมาจาก รัชกาลที่ 6 การเดินทางจากศาลากลางจังหวัดไปที่ อ.สามโคก เมื่อถึง สี่แยก เลี้ยวขึ้นสะพานปทุมธานี พอลงจากสะพานจะมีป้ายทางเข้าวัดโบสถ์อยู่ทางขวามือ |
| | | | |
| | | | |
| วัดเขียนเขต สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2439 โดยหม่อมเขียน หม่อนในพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เป็นผู้มอบถวายที่ดินเพื่อสร้างวัดแรกเริ่มที่นั้นวัดนี้เป็นเพียงสำนักสงฆ์ มีหลวงพ่อดำเป็นเจ้าสำนัก โดยใช้วัสดุหาง่าย เช่น นำเอาไม้ไผ่มาขัดเป็น พื้นหลังคา และฝาผนังทำด้วยหญ้าหม่อนเขียนพร้อมด้วยเครือญาติและประชาชนในท้องถิ่นเห็นความลำบาก ของพระเณร ที่อยู่จำพรรษา จึงได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างกุฎิเป็นทรงไทยึ้นใหม่ รวม 6 หลัง เพื่อเป็นสมบัติในพระพรพศาสนา ภายในบริเวณวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ เช่น หอระฆังเก่า โบสถ์หินอ่อนเก่าและจิตรกรรมฝาผนัง ที่แสดงให้เห็นประเพณีไทยดั่งเดิม และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวปทุมธานี | | | |
| | | |
| | | | | วัด ป่ากลางทุ่ง วัดป่ากลางทุ่ง อยู่ที่ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง ภายในอุโบสถผนังด้านหลังพระประธาน ปรากฎภาพเขียนองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อครั้งอดีตประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีภายในซุ้มเรืองแก้วอันวิจิตร ด้านซ้ายขวามีสาวกยืนอยุ่บนฐานดอกบัวบานประนมมือด้วยดอกบัว 3 ดอก น้อมกายไปข้างหน้าอย่างอ่อนช้อยเต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา พื้นผนังสีแดงชาดเขียนภาพดอกไม้ร่วงโปรยลงมาเป็นระยะ จึงเป็นผลงานในอดีตอันทรงคุณค่าของเมืองปทุมธานี | |
| วัด เจตวงศ์ เป็นวัดร้างตั้งอยู่ที่ตำบลบางขะแยงอำเภอเมือง สภาพโบราณสถานโบราณวัตถุที่เหลืออยู่คือโบสถและเจดีย์ ด้านหน้าพระอุโบสถมีขนาดเล็ก ผนังก่ออิฐ มุ่งด้วยกระเบื้องดินเผาด้านหน้ามีชายคาปีกนกยื่นมากันฝน มีช่องประตูเดียว มีหน้าต่างด้านข้าง ๆ ละ 3 ช่อง ภายในพระอุโบสถประดิฐฐานพระประธานบนฐานชุกชี ปางมารวิชัย ลดหลั่นลงมาเป็นพระอันดับซ้ายขวา 2 องค์ ฐานชุกชีตกแต่งลวดลายปูนปั้นประดับกระจกอย่างสวยงาม | | | |
| | | | | วัดศาลาแดงเหนือ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลเชียงรากน้อย อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก มีสิ่งที่น่าสน ใจคือ ธรรมาสน์ลาย จำหลักไม้ ศาลาการเปรียญ หมู่กุฎี หอตร และเครื่องกรองน้ำ สมัยโบราณที่หาชมได้ยาก นอกจากนี้มีการสวดมนต์ด้วยภาษามอญทุกวัน เวลาประทาณ 15.00 .บริเวณวัดนี้มีการรักษาความสะอาดของหมู่บ้านได้อย่างดีเยี่ยมเป็นหมู่บ้านที่ชนะเลิศการประกวดหมู่บ้านอนุรักษืแม่น้ำเจ้าพระยาดีเด่นของกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2541 และยังมีการปลูกบ้านเรือนไทยผสมผสานแบบมอญที่หาชมได้ยากยิ่ง | |
| | | | | | |
| | | |
| | |
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น