วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หลังคารถกอล์ฟ ทำมือ

ทำแบบหล่อหลังคารถกอล์ฟ

วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยกไฟฟ้า

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยกไฟฟ้า  

ความหมาย  battery forklift

Batteries เป็นแหล่งสะสมพลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงปฏิกริยาทางเคมี  พลังงานไฟฟ้าที่สะสมไว้ได้นี้เป็นพลังงานไฟฟ้าชนิดกระแสตรง (Direct Current)

  1. ส่วนประกอบ (กรณีแบตเตอรี่ตะกั่วกรด หรือ Lead Acid Battery)
1.1     แผ่นธาตุบวก ทำด้วยตะกั่วไดออกไซด์ (Pb2)  มีหลายชนิด เช่น
*        แผ่นเรียบ
*        แผ่นหลอด
ซึ่งแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป
1.2     แผ่นธาตุลบ  ทำด้วยตะกั่วบริสุทธิ์ (Pb) ส่วนใหญ่เป็นแผ่นเรียบ
1.3     แผ่นกั้น (Separator) ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้แผ่นธาตุบวกและลบสัมผัส ลัดวงจรกัน คุณสมบัติของแผ่นกั้นที่ดีต้องยอมให้โมเลกุลของน้ำกรดผ่านได้สะดวก แต่ต้องไม่ยอมให้ประจุไฟฟ้าไหลผ่านได้ มีหลายชนิด เช่น
*        ไมโคร โพรัสรัมเบอร์
*        PVC
*        กระดาษเซลลูโลส
1.4     น้ำยาอีเล็คโตรไลท์ (Electrolyte) คือสารละลายที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี ในที่นี้จะเป็นสารละลายกรดกำมะถัน (Sulphuric Acid) หรือเรียกกันสั้นๆว่า น้ำกรด
1.5      เปลือกเซลแบตเตอรี่ (Cell Jar) ทำหน้าที่ประจุส่วนประกอบต่าง ๆ  กรุ๊ปแผ่นธาตุและน้ำกรดไว้ภายใน มีหลายชนิด เช่น
*        เปลือกยางสีดำ (Hard Rubber)
*        เปลือกพลาสติกขุ่น หรือสีดำ (Polypropolyne - PP)
1.6     ฝาปิดเซลแบตเตอรี่ (Cell Lid) ทำหน้าที่ปกปิดไม่ให้เศษวัสดุหรือสารที่ไม่ต้องการตกลงภายในเซลแบตเตอรี่ ส่วนมากทำมาจากวัสดุชนิดเดียวกับเปลือกเซลแบตเตอรี่
1.7     นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ประกอบด้วย
*        ขั้ว (Therminal Post)
*        ยางอัดขั้ว (Rubber Grommet)
*        ขารองกรุ๊ปแผ่นภายในเซล (Prism)
*        จุกปิดฝา (Vent Plug)
*        สะพานไฟ (Intercell Connector)

  1. การทำงานของแบตเตอรี่ชนิดน้ำกรด (Lead Acid Battery)
ค่าความต่างศักย์ระหว่างขั้วบวกและขั้วลบ = 2.1 Volts

          เมื่อแบตเตอรี่ประจุไฟฟ้าเต็ม (Charged) จะมีแรงดันต่อเซลเท่ากับ  2.1 Volts  (แต่โดยทั่วไปมักจะพูดกันที่ค่าแรงดันต่อเซลเท่ากับ  2 Volts)  และค่าความถ่วงจำเพาะ หรือ ถ.พ. ของน้ำกรดจะสูงขึ้นจนได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น 1.270 เป็นต้น
          ต่อมาเมื่อแบตเตอรี่ถูกนำมาใช้งาน (Discharged) อนุมูลซัลเฟตจะแยกตัวและถูกดูดซับเข้าไปในแผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบ  ทำให้ความเข้มข้นและ ถ.พ.ของน้ำกรดลดต่ำลงจนมีค่าใกล้ 1.150 ซึ่งจะทำให้ค่าแรงดันของแบตเตอรี่ลดตามลงไปด้วย เมื่อนำแบตเตอรี่กลับมาประจุไฟใหม่ (Recharge) เครื่องประจุไฟฟ้า (Charger) จะจ่ายกระแสไฟคืนเข้าไปยังตัวแบตเตอรี่เพื่อขับไล่อนุมูลซัลเฟตที่อยู่ในแผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบให้กลับมาผสมกับน้ำทำให้ ถ.พ. และแรงดันของแบตเตอรี่เพิ่มกลับขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง

  1. หน้าที่ของแบตเตอรี่เมื่อนำมาใช้งานกับรถยกไฟฟ้า
*        ให้กำลังไฟฟ้ากับมอเตอร์ปั้มไฮโดรลิค
*        ให้กำลังไฟฟ้ากับมอเตอร์ขับเคลื่อน
*        ให้กำลังไฟฟ้ากับมอเตอร์พวงมาลัย
*        ให้กำลังไฟฟ้ากับระบบแสงสว่าง , สัญญาณต่างๆ และระบบควบคุม (ควรใช้ DC To Dc converter)
*        เป็นน้ำหนักถ่วงในขณะยกของ(Counterbalance)

  1. อายุของแบตเตอรี่
โดยปกติอายุของแบตเตอรี่จะกำหนดเป็นจำนวน Cycles
*       แบตเตอรี่ชนิดแผ่นหลอด    =  1200 - 1500 Cycles
*       แบตเตอรี่ชนิดเรียบ            =  700 - 800 Cycles
                                      (Discharged 80% and Recharge 8 – 12 Hr )
1 Cycles  หมายถึง การใช้งาน (Discharge) 1 ครั้ง และประจุไฟกลับคืน(Recharge) 1 ครั้ง

ข้อเสนอแนะในการใช้แบตเตอรี่  เพื่อการบำรุงรักษา

สิ่งที่ควรปฏิบัติ
1.    ตรวจเช็คระดับของน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับอยู่เสมอ
2.    ใช้น้ำกลั่นบริสุทธิ์เท่านั้น เติมลงในแบตเตอรี่
3.    บำรุงรักษาแบตเตอรี่ให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า
4.    สวมถุงมือและแว่นตา เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
5.    ให้รีบประจุไฟให้กับแบตเตอรี่ทันทีเมื่อใช้งานแบตเตอรี่เสร็จแล้ว
6.    เปิดจุกปิดฝา ในขณะที่ประจุไฟ เพื่อระบายความร้อนและแก๊สได้ดียิ่งขึ้น
7.    ประจุไฟให้เต็มทุกครั้ง ก่อนนำไปใช้งาน (ถ.พ 1.270-1.280)
8.    เมื่อประจุไฟเต็มแล้วก่อนนำออกใช้ควรทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีเพื่อให้อุณหภูมิลดลงก่อน
9.    ปิดฝาครอบขั้วแบตเตอรี่ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการลัดวงจร
10. ตรวจเช็คอุปกรณ์ของแบตเตอรี่อยู่เสมอ หากชำรุดควรแก้ไขหรือแจ้งให้ผู้รับผิดชอบทราบ


สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ
1.    ใช้แบตเตอรี่เกินอัตราที่กำหนด ถ.พ ต่ำกว่า 1.150
2.    ประจุไฟเกิน (Over Charger) อัตราที่กำหนด
3.    เติมน้ำกลั่นน้อยหรือมากเกินไป
4.    ใช้เครื่องมือที่เป็นโลหะโดยไม่มีฉนวนหุ้ม
5.    สูบบุหรี่ หรือทำให้เกิดประกายไฟใดๆ ใกล้แบตเตอรี่
6.    เปลี่ยนหรือเคลื่อนย้ายแบตเตอรี่โดยไม่ระมัดระวังอาจเกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงานหรือตัวแบตเตอรี่ได้