วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ซ่อมชุดเเฮนด์พาเลท

ตรวจเช็คระบบควบคุมรถโฟร์คลิฟท์ไฟฟ้า Crown

ซ่อมหน้าจอ TOYOTA 6FBR15

วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ระบบส่งกำลังเเบบผันเเปรอย่างต่อเนื่อง

                               ระบบส่งกำลังเเบผันเเปรอย่างต่อเนื่อง คือการส่งกำลังที่สามารถเปลี่ยนเเปลงความเร็วเเบบไร้ขั้นความเร็ว ผ่านอัตราทดที่ไร้ขอบเตอย่างมีประสิทธิผลระหว่างค่าสูงสุดเเละค่าต่ำสุด ทำให้เปลี่ยนเเปลงความเร็วได้ละเอียดมาก เเละมีความยืดหยุ่นโดยอาศัยระบบไฮดรอลิกส์เเละระบบไฟฟ้าเข้าช่วย ซึ่งเเตกต่างจากการส่งกำลังของชิ้นส่วนทางกลเเบบอื่นๆ ที่มีอัตราทดคงที่
                               ระบบส่งกำลังจะประกอบด้วยพูลเลย์รูปกรวยเเบบ CVT  คู่หนึ่ง ที่ส่งถ่ายกำลังงานผ่านสายพานขับหรือโซ่ขับหน้ากว้าง ในรถยนต์ระบบส่งกำลังเเบบนี้จะช่วยให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดีกว่าการส่งกำลังเเบบอื่นๆ ทำให้เครื่องยนต์ทำงานด้วยประสิทธิภาพสูงที่สุดกำหรับช่วงของความเร็วรถยนต์ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะเลือกใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดต่อรอบการหมุน
                                ในเครื่องเจาะเเท่นเเละเครื่องสกัดสมัยใหม่ จะเป็นระบบส่งกำลังเเบบผันเเปรอย่างต่อเนื่องเเบบเส้นผ่านศูนย์กลางพลูเลย์ผันเเปร ซึ่งจะประกอบด้วย พลูเลย์เเบบ CVT หนึ่ง เเละส่งถ่ายกำลังงานผ่านสายพานหน้ากว้าง อย่างไรก็ตาม พลูเลย์บนมอเตอร์ปกติจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางคงที่ หรืออาจจะมีชุดของพลูเลย์เเบบขั้น เพื่อให้สามารถเลือกปรับใช้ช่วงความเร็วได้ เเละที่ด้านมือหมุนบนเครื่องเจาะจะมีการติดตั้งสเกลเครื่องหมายที่อธิบายการปรับความเร็วในการเจาะ เพื่อให้ผู้ทำงานสามารถควบคุมความกว้างของช่องว่างระหว่างพลูเลย์ได้อย่างเเม่นยำ ความกว้างของช่องว่างนี้จะใช้ปรับอัตราทดระหว่างพลูเลย์คงที่ของมอเตอร์เเละพลูเลย์เพลาเอาต์พุชที่เเปรผัน ซึ่งจะเปลี่ยนเเปลงความเร็วของหัวจับดอกสว่าน พลูเลย์จะถูกดึงด้วยสายพานส่งกำลัง ซึ่งมันจะเลื่อนขึ้นหรือเลื่อนลงในสายพานเป็นการปรับเปลี่ยนความเร็วตามต้องการ เเต่มอเตอร์จะมีความเร็วคงที่

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หลังคารถกอล์ฟ ทำมือ

ทำแบบหล่อหลังคารถกอล์ฟ

วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยกไฟฟ้า

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยกไฟฟ้า  

ความหมาย  battery forklift

Batteries เป็นแหล่งสะสมพลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงปฏิกริยาทางเคมี  พลังงานไฟฟ้าที่สะสมไว้ได้นี้เป็นพลังงานไฟฟ้าชนิดกระแสตรง (Direct Current)

  1. ส่วนประกอบ (กรณีแบตเตอรี่ตะกั่วกรด หรือ Lead Acid Battery)
1.1     แผ่นธาตุบวก ทำด้วยตะกั่วไดออกไซด์ (Pb2)  มีหลายชนิด เช่น
*        แผ่นเรียบ
*        แผ่นหลอด
ซึ่งแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป
1.2     แผ่นธาตุลบ  ทำด้วยตะกั่วบริสุทธิ์ (Pb) ส่วนใหญ่เป็นแผ่นเรียบ
1.3     แผ่นกั้น (Separator) ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้แผ่นธาตุบวกและลบสัมผัส ลัดวงจรกัน คุณสมบัติของแผ่นกั้นที่ดีต้องยอมให้โมเลกุลของน้ำกรดผ่านได้สะดวก แต่ต้องไม่ยอมให้ประจุไฟฟ้าไหลผ่านได้ มีหลายชนิด เช่น
*        ไมโคร โพรัสรัมเบอร์
*        PVC
*        กระดาษเซลลูโลส
1.4     น้ำยาอีเล็คโตรไลท์ (Electrolyte) คือสารละลายที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี ในที่นี้จะเป็นสารละลายกรดกำมะถัน (Sulphuric Acid) หรือเรียกกันสั้นๆว่า น้ำกรด
1.5      เปลือกเซลแบตเตอรี่ (Cell Jar) ทำหน้าที่ประจุส่วนประกอบต่าง ๆ  กรุ๊ปแผ่นธาตุและน้ำกรดไว้ภายใน มีหลายชนิด เช่น
*        เปลือกยางสีดำ (Hard Rubber)
*        เปลือกพลาสติกขุ่น หรือสีดำ (Polypropolyne - PP)
1.6     ฝาปิดเซลแบตเตอรี่ (Cell Lid) ทำหน้าที่ปกปิดไม่ให้เศษวัสดุหรือสารที่ไม่ต้องการตกลงภายในเซลแบตเตอรี่ ส่วนมากทำมาจากวัสดุชนิดเดียวกับเปลือกเซลแบตเตอรี่
1.7     นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ประกอบด้วย
*        ขั้ว (Therminal Post)
*        ยางอัดขั้ว (Rubber Grommet)
*        ขารองกรุ๊ปแผ่นภายในเซล (Prism)
*        จุกปิดฝา (Vent Plug)
*        สะพานไฟ (Intercell Connector)

  1. การทำงานของแบตเตอรี่ชนิดน้ำกรด (Lead Acid Battery)
ค่าความต่างศักย์ระหว่างขั้วบวกและขั้วลบ = 2.1 Volts

          เมื่อแบตเตอรี่ประจุไฟฟ้าเต็ม (Charged) จะมีแรงดันต่อเซลเท่ากับ  2.1 Volts  (แต่โดยทั่วไปมักจะพูดกันที่ค่าแรงดันต่อเซลเท่ากับ  2 Volts)  และค่าความถ่วงจำเพาะ หรือ ถ.พ. ของน้ำกรดจะสูงขึ้นจนได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น 1.270 เป็นต้น
          ต่อมาเมื่อแบตเตอรี่ถูกนำมาใช้งาน (Discharged) อนุมูลซัลเฟตจะแยกตัวและถูกดูดซับเข้าไปในแผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบ  ทำให้ความเข้มข้นและ ถ.พ.ของน้ำกรดลดต่ำลงจนมีค่าใกล้ 1.150 ซึ่งจะทำให้ค่าแรงดันของแบตเตอรี่ลดตามลงไปด้วย เมื่อนำแบตเตอรี่กลับมาประจุไฟใหม่ (Recharge) เครื่องประจุไฟฟ้า (Charger) จะจ่ายกระแสไฟคืนเข้าไปยังตัวแบตเตอรี่เพื่อขับไล่อนุมูลซัลเฟตที่อยู่ในแผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบให้กลับมาผสมกับน้ำทำให้ ถ.พ. และแรงดันของแบตเตอรี่เพิ่มกลับขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง

  1. หน้าที่ของแบตเตอรี่เมื่อนำมาใช้งานกับรถยกไฟฟ้า
*        ให้กำลังไฟฟ้ากับมอเตอร์ปั้มไฮโดรลิค
*        ให้กำลังไฟฟ้ากับมอเตอร์ขับเคลื่อน
*        ให้กำลังไฟฟ้ากับมอเตอร์พวงมาลัย
*        ให้กำลังไฟฟ้ากับระบบแสงสว่าง , สัญญาณต่างๆ และระบบควบคุม (ควรใช้ DC To Dc converter)
*        เป็นน้ำหนักถ่วงในขณะยกของ(Counterbalance)

  1. อายุของแบตเตอรี่
โดยปกติอายุของแบตเตอรี่จะกำหนดเป็นจำนวน Cycles
*       แบตเตอรี่ชนิดแผ่นหลอด    =  1200 - 1500 Cycles
*       แบตเตอรี่ชนิดเรียบ            =  700 - 800 Cycles
                                      (Discharged 80% and Recharge 8 – 12 Hr )
1 Cycles  หมายถึง การใช้งาน (Discharge) 1 ครั้ง และประจุไฟกลับคืน(Recharge) 1 ครั้ง

ข้อเสนอแนะในการใช้แบตเตอรี่  เพื่อการบำรุงรักษา

สิ่งที่ควรปฏิบัติ
1.    ตรวจเช็คระดับของน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับอยู่เสมอ
2.    ใช้น้ำกลั่นบริสุทธิ์เท่านั้น เติมลงในแบตเตอรี่
3.    บำรุงรักษาแบตเตอรี่ให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า
4.    สวมถุงมือและแว่นตา เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
5.    ให้รีบประจุไฟให้กับแบตเตอรี่ทันทีเมื่อใช้งานแบตเตอรี่เสร็จแล้ว
6.    เปิดจุกปิดฝา ในขณะที่ประจุไฟ เพื่อระบายความร้อนและแก๊สได้ดียิ่งขึ้น
7.    ประจุไฟให้เต็มทุกครั้ง ก่อนนำไปใช้งาน (ถ.พ 1.270-1.280)
8.    เมื่อประจุไฟเต็มแล้วก่อนนำออกใช้ควรทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีเพื่อให้อุณหภูมิลดลงก่อน
9.    ปิดฝาครอบขั้วแบตเตอรี่ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการลัดวงจร
10. ตรวจเช็คอุปกรณ์ของแบตเตอรี่อยู่เสมอ หากชำรุดควรแก้ไขหรือแจ้งให้ผู้รับผิดชอบทราบ


สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ
1.    ใช้แบตเตอรี่เกินอัตราที่กำหนด ถ.พ ต่ำกว่า 1.150
2.    ประจุไฟเกิน (Over Charger) อัตราที่กำหนด
3.    เติมน้ำกลั่นน้อยหรือมากเกินไป
4.    ใช้เครื่องมือที่เป็นโลหะโดยไม่มีฉนวนหุ้ม
5.    สูบบุหรี่ หรือทำให้เกิดประกายไฟใดๆ ใกล้แบตเตอรี่
6.    เปลี่ยนหรือเคลื่อนย้ายแบตเตอรี่โดยไม่ระมัดระวังอาจเกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงานหรือตัวแบตเตอรี่ได้









วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ซ่อมรถกอล์ฟไฟฟ้า YAMAHA 72V

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

มอเตอร์รถกอล์ไฟฟ้า 48v

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ซ่อมรถกอล์ฟไฟฟ้า ezgo

วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ไฟไหม้รถกอล์ฟ หมู่บ้านกรีนวัลเล่ย์ เชียงใหม่ 160 คัน สูญกว่า 30 ล้าน



ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ข่าวสด 

          ไฟไหม้รถกอล์ฟ 160 คัน หมู่บ้านกรีนวัลเล่ย์ เชียงใหม่ กลางดึก ขณะนำรถชาร์ตแบตเตอรี่ทิ้งไว้ สูญกว่า 30 ล้าน 

          วันนี้ (10 พฤษภาคม 2557) เมื่อเวลา 01.59 นาทีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.แม่ริม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ รับแจ้งเหตุไฟไหม้รถกอล์ฟภายในสนามกอล์ฟกรีนวัลเล่ย์ อ.แม่ริม จำนวนหลายคัน ซึ่งหมู่บ้านดังกล่าวเป็นที่ตั้งของบ้านพักเครือญาติชินวัตร เช่นบ้านของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ เป็นต้น 

          ทั้งนี้ หลังจากได้รับแจ้ง เจ้าหน้าที่ก็รุดไปตรวจสอบ โดยพบว่า จุดเกิดเหตุอยู่ภายในโรงเก็บรถกอล์ฟ มีรถกอล์ฟถูกไฟไหม้เสียหายประมาณ 150-160 คัน เจ้าหน้าที่สนามได้รีบขับรถกอล์ฟออกมาได้เป็นบางส่วน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท (รถกอล์ฟราคาคันละประมาณ 2 แสนบาท)

          จากการสอบสวนทราบว่า ขณะเกิดเหตุยามของหมู่บ้านที่ประจำการอยู่บริเวณป้อม ห่างออกไปประมาณ 30 เมตรนั้น ได้ยินเสียงคล้ายระเบิด จึงวิ่งไปดู พบว่าไฟกำลังไหม้รถกอล์ฟที่จอดชาร์ตแบตเตอร์รี่ทิ้งไว้ในเวลากลางคืน จึงได้แจ้งเจ้าหน้าที่ห้องควบคุมร่วมกันเข้าดับเพลิง แต่เนื่องจากโรงเก็บดังกล่าวมีรถกอล์ฟจอดทั้งสิ้น 170 คัน จึงไม่สามารถนำรถออกมาได้ทั้งหมด อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ตำรวจจะตรวจพิสูจน์หลักฐานเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป 

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตรวจเช็ครถกอล์ฟ ยี่ห้อ SWS

วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ซ่อมรถโฟล์คลิฟท์ โตโยต้า ยืนขับ รุ่น3

วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Repair forklift HYSTER 2.5 TON

forklift sumitomo lpg 3.5 ton

ซ่อมรถโฟล์คลิฟท์ sumitomo 3.5 ตัน เครื่อง v6

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตรวจเช็ครถโฟล์คลิฟท์ NISSAN 7 ตัน

ระบบระบายความร้อนและระบบหล่อลื่น

ระบบระบายความร้อนและระบบหล่อลื่น
ระบบหล่อลื่น
                การหล่อลื่นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานของเครื่องยนต์เนื่องจากภายในเครื่องยนต์มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวและเสียดสีกันมาก  แม้ว่าผิวหน้าของชิ้นส่วนที่เกิดการเสียดสีจะเรียบ  แต่เมื่อเสียดสีกันจะทำให้เกิดความร้อน  ชิ้นส่วนทั้งสองอาจจะหลอมติดกัน  ทำให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องยนต์ได้  การหล่อลื่นจึงมีหน้าที่สำคัญคือลดการเสียดสีของชิ้นส่วนต่างๆ และลดการสูญเสียกำลังเนื่องจากการเสียดสี  นอกจากนั้น ยังช่วยระบายความร้อน อุดการรั่วซึม ลดความดังของเสียง และทำความสะอาดชิ้นส่วนต่างๆ                
   การแบ่งชนิดของน้ำมันหล่อลื่นถือเอาค่าความหนืดเป็นหลัก  โดยทางสมาคมวิศวกรรมยานยนต์เป็นผู้กำหนด  โดยเรียกชนิดของน้ำมันเป็นค่าของ เอส เอ อี เช่น น้ำมันหล่อลื่น เอส เอ อี เบอร์ 30  ซึ่งแสดงถึงความข้นหรือใสของน้ำมันเท่านั้น  มิได้บอกถึงคุณภาพหรือสภาพของงานที่ใช้กับน้ำมันชนิดนี้
                น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้กับเครื่องส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมัน เอส เอ อี เบอร์ 10 ถึง 40  ส่วนน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้กับเกียร์และเฟืองท้ายจะเป็นน้ำมัน เอส เอ อี เบอร์ 50 ถึง 140
ระบบหล่อลื่นในเครื่องยนต์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบคือ
1.  ระบบวิดสาด
2.  ระบบใช้แรงฉีด
ระบบวิดสาด ( Splash system )
            เป็นระบบหล่อลื่นที่ง่ายและใช้มากในเครื่องยนต์สูบเดียวที่มีการระบายความร้อนด้วยอากาศ  น้ำมันหล่อลื่นที่อยู่ในห้องน้ำมันเครื่องจะถูกปั้มดูดส่งน้ำมันจากห้องน้ำมันเครื่องไปยังอ่างน้ำมันเครื่องซึ่งอยู่ใต้ก้านสูบที่ปลายก้านสูบจะมีเหล็กวิดสาด (dipper) จุ่มลงในอ่างน้ำมันเครื่องและวิดเอาน้ำมันเครื่องสาดไปทั่วชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์
ระบบใช้แรงฉีด ( Inject  system )
            ใช้กันมากสำหรับเครื่องยนต์ของรถแทรกเตอร์   ซึ่งมีความยุ่งยากและซับซ้อนกว่าแบบวิดสาด แต่ทำการหล่อลื่นดีกว่า
ระบบหล่อลื่นแบบใช้แรงฉีดประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1.  เครื่องกรองน้ำมันก่อนเข้าปั้ม
2.  ปั้ม
3.  ลิ้นควบคุมความดัน
4.  หม้อกรองน้ำมันเครื่อง
5.  เครื่องวัดความดันน้ำมันเครื่อง 
ดสาดเมื่อเครื่องยนต์ทำงาน  เพลาลูกเบี้ยวจะขับให้ปั้มหมุนและดูดน้ำมันหล่อลื่นขึ้นมาจากอ่างน้ำมัน  ผ่านเครื่องกรองเพื่อแยกเอาสิ่งสกปรกและเศษโลหะขนาดใหญ่ออก  แต่เนื่องจากความเร็วของปั้มขึ้นอยู่กับความเร็วของเครื่องยนต์  ดังนั้น ความดันในน้ำมันเนื่องจากการดูดของปั้มจึงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมื่อความดันของน้ำมันมากเกินไปลิ้นควบคุมความดันน้ำมันก็จะเปิดและปล่อยให้น้ำมันบางส่วนไหลกลับเข้าห้องน้ำมันเพื่อกรองสิ่งสกปรกเล็กๆ หรือเศษเขม่าทำให้น้ำมันสะอาด  หลังจากนั้นน้ำมันก็จะถูกส่งขึ้นไปหล่อลื่นที่ประกับเพลาข้อเหวี่ยง  ก้านลูกสูบเพลาลูกเบี้ยว เฟืองต่างๆ สลักลูกสูบและชิ้นส่วนอื่นๆ
ระบบระบายความร้อน
             พลังงานความร้อนถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานกลเพื่อนำไปใช้งานนั้น  เกิดจากการเผาไหม้ภายในเครื่องยนต์  ความร้อนที่เกิดจากาการเผาไหม้นี้มีมากแต่ถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานกลน้อย  ความร้อนส่วนใหญ่จะสูญเสียไปโดยการถ่ายเทความร้อนไปที่เสื้อสูบ  ฝาสูบ  ลูกสูบ  และลิ้น  ดังนั้น ถ้าหากชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้รับการระบายความร้อนที่ดี และเพียงพอแล้วจะทำให้เครื่องยนต์ได้รับความเสียหายและก่อให้เกิดอันตรายได้  การระบายความร้อนในเครื่องยนต์จึงมีความสำคัญเพราะถ้าหากว่ามีการระบายความร้อนน้อยเกินไปเครื่องยนต์จะร้อนมาก  ชิ้นส่วนต่างๆ อาจจะชำรุดแตกเสียหาย  ลูกสูบและลิ้นอาจจะไหม้  เครื่องยนต์อาจจะเกิดการน๊อค และระบบหล่อลื่นจะทำงานได้ไม่ดี  แต่ถ้าหากมีการระบายความร้อนมากเกินไป  เครื่องยนต์จะเย็น  ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
              การระบายความร้อนแบ่งออกได้เป็น  2  ระบบ
1.  ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
2.  ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลว
การระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooling System) ส่วนใหญ่จะใช้กับเครื่องยนต์ขนาดเล็กสูบเดียว โดยการใช้อากาศที่ผ่านเครื่องยนต์เป็นตัวรับความร้อนที่ระบายจากเครื่องยนต์  เสื้อสูบและฝาสูบจะออกแบบให้มีลักษณะเป็นครีบเพื่อเพิ่มเนื้อที่การระบายความร้อนให้กับอากาศ  อาจจะมีพัดลมติดอยู่ตรงล้อช่วยแรง และมีแผ่นโลหะบังคับทิศทางลมให้ผ่านบริเวณตัวเครื่องเพื่อที่จะให้การระบายความร้อนดีขึ้น
 ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลว (Liquid Cooling System) ส่วนใหญ่อาศัยน้ำรับความร้อนที่ระบายออกจากเครื่องยนต์และใช้อากาศรับความร้อนจากน้ำ  ทำให้น้ำเย็นลงแล้วให้น้ำเย็นนั้นไหลกลับไปรับความร้อนจากเครื่องใหม่  ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวนี้สามารถควบคุมอุณหภูมิของเครื่องยนต์ได้ดีกว่า และช่วยให้เครื่องยนต์เย็นเร็วกว่าระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
  ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำในเครื่องยนต์ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
หม้อน้ำหรือรังผึ้ง (Radiator)
              ทำหน้าที่ถ่ายเทความร้อนจากน้ำให้อากาศด้วยการรับน้ำที่มีความร้อนจากเสื้อสูบ  และทำให้เย็นลงโดยให้อากาศที่พัดผ่านรับเอาความร้อนจากน้ำในหม้อน้ำไป หม้อน้ำประกอบด้วยหม้อน้ำส่วนบนและหม้อน้ำส่วนล่าง  ระหว่างหม้อน้ำส่วนบนและส่วนล่าง  จะมีท่อน้ำเล็กๆ หลายท่อเชื่อมอยู่ ทำให้น้ำแยกไหลไปตามท่อ  ตรงบริเวณท่อน้ำเล็กๆ เหล่านี้จะมีโลหะเชื่อมติดเป็นครีบ มีลักษณะคล้ายรังผึ้งเพื่อให้เกิดพื้นที่ผิวสำหรับระบายความร้อนได้มาก  โดยความร้อนของน้ำจะถ่ายเทความร้อนให้กับอากาศที่พัดผ่าน
ปั้มน้ำ (Water Pump)
             ปั้มน้ำส่วนใหญ่จะเป็นปั้มแบบหอยโข่ง  ติดตั้งอยู่บนบริเวณหน้าของเสื้อสูบและรับกำลังหมุนมาจากสายพาน  ปั้มจะดูดน้ำจากหม้อน้ำส่วนล่างผ่านเข้าตัวปั้มของท่อน้ำข้างล่าง  และไหลออกจากปั้มเข้าหมุนเวียนอยู่ในช่องว่างภายในเสื้อสูบและฝาสูบเพื่อรับความร้อนจากส่วนต่างๆ  น้ำที่ได้รับความร้อนแล้วจะไหลออกจากเสื้อสูบทางท่อน้ำข้างบนผ่านลิ้นควบคุมอุณหภูมิน้ำเข้าไปยังหม้อน้ำส่วนบน  จากนั้นก็ไหลผ่านบริเวณรังผึ้งเพื่อถ่ายเทความร้อนให้แก่อากาศต่อไป
ทางน้ำไหลในตัวเครื่องยนต์ (Water Passage)
             ช่องว่างที่อยู่ภายในเนื้อโลหะที่ใช้ทำเป็นเสื้อสูบและฝาสูบ  ใช้เป็นทางให้น้ำไหผ่านเพื่อระบายความร้อนออกจากเครื่องยนต์  ทางน้ำไหลนี้จะมีรอบกระบอกสูบ และตลอดความยาวช่วงชักของลูกสูบเพื่อเป็นการป้องกันการขยายตัวไม่เท่ากันของกระบอกสูบ
ลิ้นควบคุมอุณหภูมิของน้ำ (Thermostat) 
             จะติดตั้งไว้ตรงท่อน้ำที่ไหลเข้าหม้อน้ำส่วนบน  ลิ้นควบคุมอุณหภูมิของน้ำนี้จะเปิดและปิดโดยอัตโนมัติด้วยความร้อนที่มีในน้ำที่ไหลผ่าน  โดยปกติลิ้นนี้จะปิดและไม่ยอมให้น้ำไหลผ่านออกไปจากเสื้อสูบได้ถ้าอุณหภูมิของน้ำยังไม่ร้อนถึงจุดที่กำหนดให้เปิด  น้ำก็จะไหลวนเวียน และรับความร้อนเพิ่มจากภายในเสื้อสูบและฝาเสื้อสูบจนกระทั่งความร้อนของน้ำนั้นสูงถึงอุณหภูมิที่กำหนด  ลิ้นควบคุมอุณหภูมินี้ก็จะเปิดให้น้ำไหลผ่านเข้าสู่หม้อน้ำ และคายความร้อนให้กับอากาศ  อุณหภูมิของน้ำที่กำหนดให้ลิ้นควบคุมอุณหภูมิเปิดจะอยู่ประมาณ 65 องศาเซลเซียส
พัดลม (Fan)
              เมื่อน้ำซึ่งร้อนไหลผ่านบริเวณรังผึ้ง  พัดลมที่อยู่หลังหม้อน้ำก็จะทำหน้าที่เป่าลมให้พัดผ่านหม้อน้ำ และพาเอาความร้อนจากน้ำออกไป  ต่อจากนั้นก็จะไหลลงสู่หม้อน้ำส่วนล่างและไหลเวียนต่อไป

วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เปลี่ยนไดชาร์จรถโฟล์คลิท์

ระบบพลังไฟฟ้า (electrical power system)

ระบบพลังไฟฟ้าของรถยก มีข้อกำหนดความปลอดภัยอย่างไรบ้าง

ระบบไฟฟ้ามีข้อกำหนดความปลอดภัยรวมตั้งแต่ แบตเตอรี่ อุปกรณ์ไฟฟ้า และระบบป้องกันไฟรั่ว ไฟเกิน ได้แก่

1) ตู้บรรจุแบตเตอรี่ เป็นแหล่งพลังงานของรถยกและถือว่าเป็นจุดสำคัญที่ต้องมีการป้องกัน ฝาตู้ที่เปิดต้องมีระดับห่างจากตัวแบตเตอรี่ไม่ต่ำกว่า 30 มิลลิเมตร เพื่อให้ไอระเหยของน้ำกรดที่ร้อนจัดสามารถระบายออกไปได้ และสามารถรับแรงกระแทกได้ไม่ต่ำกว่า 980 Nforce

2) Connector เป็นอุปกรณ์สำคัญอีกตัวหนึ่งที่อาจใช้ในการตัดไฟจากแหล่งพลังงานเวลาฉุกเฉินได้ ต้องสามารถทนแรงไฟเป็น 4 เท่าของกำลังไฟปกติ ชนิดของ connector มีขนาดแยกตามสีต่างๆ ตามมาตรฐานสากล

3)อุปกรณ์ต่างๆ ต้องมีแนวนป้องกันไฟฟ้าช๊อต ต้องแยกห้องไฟฟ้าต่างหาก มีการป้องกันด้วยระบบลงดิน(earthing) มีวงจรพิเศษสำหรับระบายไฟจากการใช้ไฟเกิน (overload) และมีฟิวส์ (fuse) ขนาดเหมาะสมป้องกันไฟลัดวงจร

4) ต้องมีระบบสวิตช์ฉุกเฉิน (emergency disconnection) อยู่ใกล้มือคนขับที่พร้อมจะตัดไฟจากวงจรได้อย่างรวดเร็ว

5) ต้องมีระบบระบายความร้อนที่เกิดจากการทำงานของมอเตอร์

6) รถยกที่นำไปใช้งานในโรงงานหรือสายการผลิต ต้องคำนึงถึงการเข้ากันได้ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า EMC (electromagnetic compatibility) หมายถึงการไม่ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปรบกวนซึ่งกันและกันระหว่างรถยกไฟฟ้ากับเครื่องจักรกลอื่น ที่ควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

ระบบควบคุมและเบรก (control & brake system)

สิ่งที่สำคัญในข้อกำหนดด้านนี้จะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างต่างๆ และการควบคุมการขับเคลื่อนของตัวรถ ได้แก่

1.การกำหนดรัศมีวงเลี้ยวและขนาดกว้าง ยาว สูงของตัวรถชัดเจนและเหมาะสม สีรถต้องเป็นสีที่ตัดกันกับอุปกรณ์อื่นๆ ในสิ่งแวดล้อมที่ทำงาน เพื่อให้เห็นได้ชัดว่ารถยกกำลังทำงานหรือวิ่งไปมา ดังนั้น จึงได้พบเห็นเสมอว่ารถยกทั่วไปมีสีฉูดฉาดและสามารถมองเห็นได้แต่ไกล เช่น สีส้ม สีเหลือง สีแดง เป็นต้น

2.การควบคุมความเร็วในการขับเคลื่อน จะต้องมีความเร็วที่กำหนดเหมาะสม ไม่เร็วเกินไป มีความสามารถในการไต่ทางลาดชันและข้ามสิ่งกีดขวางได้ระดับหนึ่ง อุปกรณ์ที่บังคับเดินหน้าถอยหลังจะต้องสอดคล้องกับทิศทางเช่นเดียวกัน อุปกรณ์ที่บังคับเลี้ยงซ้ายขวาต้องมีลักษณะการทำงานสอดคล้องกับทิศทางการเลี้ยว

3.พวงมาลักที่ใช้จะต้องคืนตัวได้และสามารถบังคับด้วยมือเดียวได้ ดังนั้น พวงมาลัยรถยกจึงมีปุ่มเพิ่มขึ้น เพื่อให้บังคับทิศทางรถด้วยมือเพียงข้างเดียวได้สะดวก เหตุที่ต้องออกแบบเช่นนี้ เพราะรถยกต้องทำงานด้วยมือทั้งสองข้างพร้อมกันในขณะขับเคลื่อน เช่น ต้องมีมือเหลือที่จะยกงาขึ้นลง หรือโยกหน้าหลัง เป็นต้น

4.ระบบเบรกเป็นเงื่อนไขที่สำคัญอีกประการหนึ่ง รถยกจะมีเบรกหลายแบบ ซึ่งนอกจากการเบรกในเวลาทำงานที่เรียกว่า service brake แล้ว ยังมีระบเบรกในขณะที่รถจอดอยู่กับที่เรียกกันว่าเบรกอัตโนมัติ หรือ parking brake ช่วงป้องกันอันตรายจากการเคลื่อนตัวหรือลื่นไถลโดยไม่มีคนขับ

มาตราฐานที่ดีได้กำหนดน้ำหนักของเบรกที่จำเป็นของรถยกแต่ละรุ่น เพราะน้ำหนักตัวรถและความเร็วรถที่มีไม่เท่ากัน ทำให้ต้องมีน้ำหนักของเบรกเพียงพอกับรถชนิดนั้นๆ

5.รถยกประเภทเดินตามที่มีระยะหัว tiller ตั้งตรงกับนอนราบ ต้องมีระยะเบรกในตัวและยังต้องมีระบบเบรกชนิดพิเศษที่หัว tiller โดยคำนึงถึงรถเวลาถอยหลังมาหาคนขับ ถ้าบังเอิญคนขับถอยเข้าสู่มุมอับหรือติดกำแพง ระบบเบรกที่หัว tiller จะกระแทกกับคนขับ แล้วทำให้รถยกวิ่งกลับทิศทางได้ทันที เรียกว่า “reversing moving”

6.การวางตำแหน่งคานบังคับ ต้องเรียงตามที่กำหนดไว้ในมาตราฐาน กล่าวคือ ให้เรียงตามลำดับจาก A B C เพื่อช่วยให้คนขับรถยกสามารถบังคับรถได้ทุกคันเหมือนกันหมด และไม่เกิดความผิดพลาดในการบังคับ

A = คานสำหรับยกงาขึ้นลง

B = คานสำหรับการโยกเสาเอนหน้าหลัง

C = คานสำหรับอุปกรณ์เสริม